กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8581
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายกรณีการรับฟังข้อมูลจากผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legl problems on ccepting of informtion from nrcotic offendersin ccordnce with the section 100/2 of nrcotics ct b.e. 2522 (1979) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประลอง ศิริภูล นพดล บุตรวงษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ยาเสพติด มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา กฎหมายยาเสพติด ยาเสพติดกับอาชญากรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | จากการศึกษาปัญหาทางกฎหมายกรณีการรับฟังข้อมูลจากผู้กระทําผิดในคดียาเสพติด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 พบว่า กฎหมายดังกล่าวยอมรับหลักการการต่อรองรับสารภาพ เพราะหากผู้ให้ถ้อยคําไม่ให้ข้อมูลอันสําคัญและเป็นประโยชน์นําไปสู่การปราบปรามการกระทําความผิด และสอดคล้องกับทฤษฎีควบคุมอาชญากรรม (The crime control model) ถือได้ว่ามีการกลั่นกรองคดีมาแล้วจากพนักงานอัยการกับผู้ต้องหา ทําให้สามารถดําเนินคดีไป ด้วยความเป็นธรรมในประเด็นต่อมา มาตรา 100/2 ได้บัญญัติ “ผู้ต้องหาให้ข้อมูลที่สําคัญและเป็นประโยชน์ในการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลอาจจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นก็ได้” ถือว่า เป็นการใช้ดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นก็ได้ซึ่งในทางปฏิบัติก็ใช้ดุลพินิจที่แตกต่างกันออกไปอีกทั้งแนวทางในการรับฟังคําให้การของพยานในชั้นสอบสวนถือเป็นปัญหาในทางปฏิบัติสําหรับผู้ปฏิบัติอย่างมากในการจะขอความร่วมมือจากผู้กระทําความผิดเพื่อให้ความร่วมมือในการให้ถ้อยคําอันเป็นประโยชน์เพื่อขยายผลในคดียาเสพติดต่อไป ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ สํานักงานตํารวจแห่งชาติควรจัดทําระเบียบและข้อบังคับ สําหรับการปฏิบัติตามข้อมูลและถ้อยคําอันเป็นประโยชน์ในการปราบปรามการกระทําความผิดยาเสพติดเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติกรณีที่เจ้าพนักงานในชั้นจับกุม และเจ้าพนักงานในชั้นสอบสวนได้รับข้อมูลผู้ให้ถ้อยคําแล้วต้องเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาอนุมัติโดยอาจกําหนดระยะเวลา นับตั้งแต่วันที่ได้รับข้อมูล และหากเป็นผลให้สามารถจับกุมผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้เจ้าพนักงานนั้น นําเสนอบันทึกการจับกุม และบันทึกการสอบสวน เสนอต่อศาล และเข้าเบิกความเป็นพยาน เพื่อประโยชน์ของผู้ให้ถ้อยคําได้รับการพิจารณาลดโทษจากศาลต่อไป นอกจากนี้ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ดังนี้ “ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทําความผิด ผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สําคัญ…ให้ศาลลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8581 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
54921134.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น