กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8572
ชื่อเรื่อง: | หางเครื่อง : สีสันวงดนตรีลูกทุ่งสู่การสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Hngkrung-the colourful rhythm, with the cretivity in wtercolour pinting |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เทพศักดิ์ ทองนพคุณ ปิติวรรธน์ สมไทย วิศิษฐ พิมพิมล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ การเขียนสีน้ำ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | หางเครื่อง เป็นองค์ประกอบของวงดนตรีลูกทุ่งที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน ทั้งดนตรี จังหวะ เครื่องแต่งกายมีสีสันสดใสซึ่งผ่านการออกแบบอย่างสวยงามอลังการ และมักประดับประดาด้วย ขนนก ลูกปัด เลื่อม ช่วยสะท้อนสีสันของการสร้างสรรค์ เป็นงานศิลปะการแสดงซึ่งช่วยกระตุ้น บรรยากาศของการรับรู้ และความเคลื่อนไหวก่อให้เกิดแรงบันดาลใจต่อผู้วิจัยในการสร้างสรรค์ จิตรกรรมสีน้ำ บทความฉบับนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อรวบรวมความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของหางเครื่อง ลักษณะที่โดดเด่นของหางเครื่อง การใช้สีสันและเครื่องประดับในเครื่องแต่งกาย เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานด้วยเทคนิคสีน้ำ (2) เพื่อศึกษาผลงานของศิลปินต่างประเทศ เช่น วาสสิลี คานดินสกี (Wassily Kandinsky) เฮเลน แฟรงเคนทาเลอร์ (Helen Frankenthaler) และศิลปินร่วมสมัยไทย เช่น ธงชัย รักปทุม, สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ และสรรณรงค์ สิงหเสนี โดยนำแนวความคิดมาประยุกต์ และทดลองเทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำ (3) เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศความสดใส และกระบวนการเคลื่อนไหวของหางเครื่องด้วยเทคนิค จิตรกรรมสีน้ำ การดำเนินงานใช้กระบวนการศึกษาเอกสารประกอบกับการทดลองเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำ โดยมีแนวคิดการโต้ตอบแบบฉับพลัน (Improvisation) และแนวคิดเรื่องพลังอิสระที่ถูกปลดปล่อยผ่านจิตใต้สำนึก ประกอบเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ผ่านสัญลักษณ์ที่ได้จากเครื่องแต่งกายหางเครื่อง บรรยากาศของการแสดง สีสัน ความเคลื่อนไหว ที่ประมวลจากวงดนตรีลูกทุ่ง ผลการศึกษา/สร้างสรรค์ พบว่าลักษณะเด่นของหางเครื่องมีสีสันสดใสและการเคลื่อนไหวที่สนุกสนาน สามารถถ่ายทอดผ่านเทคนิคการใช้สีน้ำ ซึ่งเผยให้เห็นความสดใส หลากเฉดสี ปฏิกิริยา การเคลื่อนไหวของหางเครื่องเป็นเสมือนการโต้ตอบฉับพลัน ระหว่างดนตรีกับหางเครื่อง กระดาษกับรอยแปรง มิติที่รับรู้มีความลงตัวระหว่างขอบเส้น การแผ่กระจายของหยดสี มิติของงานจิตรกรรม กึ่งนามธรรม (Semi-Abstract) ยังสะท้อนถึงพฤติกรรมมนุษย์ และความทรงจำที่งดงามในวิถีชีวิตวัฒนธรรมของสังคมไทย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8572 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
54920594.pdf | 11.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น