กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8572
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เทพศักดิ์ ทองนพคุณ | |
dc.contributor.advisor | ปิติวรรธน์ สมไทย | |
dc.contributor.author | วิศิษฐ พิมพิมล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T03:59:43Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T03:59:43Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8572 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | หางเครื่อง เป็นองค์ประกอบของวงดนตรีลูกทุ่งที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน ทั้งดนตรี จังหวะ เครื่องแต่งกายมีสีสันสดใสซึ่งผ่านการออกแบบอย่างสวยงามอลังการ และมักประดับประดาด้วย ขนนก ลูกปัด เลื่อม ช่วยสะท้อนสีสันของการสร้างสรรค์ เป็นงานศิลปะการแสดงซึ่งช่วยกระตุ้น บรรยากาศของการรับรู้ และความเคลื่อนไหวก่อให้เกิดแรงบันดาลใจต่อผู้วิจัยในการสร้างสรรค์ จิตรกรรมสีน้ำ บทความฉบับนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อรวบรวมความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของหางเครื่อง ลักษณะที่โดดเด่นของหางเครื่อง การใช้สีสันและเครื่องประดับในเครื่องแต่งกาย เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานด้วยเทคนิคสีน้ำ (2) เพื่อศึกษาผลงานของศิลปินต่างประเทศ เช่น วาสสิลี คานดินสกี (Wassily Kandinsky) เฮเลน แฟรงเคนทาเลอร์ (Helen Frankenthaler) และศิลปินร่วมสมัยไทย เช่น ธงชัย รักปทุม, สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ และสรรณรงค์ สิงหเสนี โดยนำแนวความคิดมาประยุกต์ และทดลองเทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำ (3) เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศความสดใส และกระบวนการเคลื่อนไหวของหางเครื่องด้วยเทคนิค จิตรกรรมสีน้ำ การดำเนินงานใช้กระบวนการศึกษาเอกสารประกอบกับการทดลองเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำ โดยมีแนวคิดการโต้ตอบแบบฉับพลัน (Improvisation) และแนวคิดเรื่องพลังอิสระที่ถูกปลดปล่อยผ่านจิตใต้สำนึก ประกอบเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ผ่านสัญลักษณ์ที่ได้จากเครื่องแต่งกายหางเครื่อง บรรยากาศของการแสดง สีสัน ความเคลื่อนไหว ที่ประมวลจากวงดนตรีลูกทุ่ง ผลการศึกษา/สร้างสรรค์ พบว่าลักษณะเด่นของหางเครื่องมีสีสันสดใสและการเคลื่อนไหวที่สนุกสนาน สามารถถ่ายทอดผ่านเทคนิคการใช้สีน้ำ ซึ่งเผยให้เห็นความสดใส หลากเฉดสี ปฏิกิริยา การเคลื่อนไหวของหางเครื่องเป็นเสมือนการโต้ตอบฉับพลัน ระหว่างดนตรีกับหางเครื่อง กระดาษกับรอยแปรง มิติที่รับรู้มีความลงตัวระหว่างขอบเส้น การแผ่กระจายของหยดสี มิติของงานจิตรกรรม กึ่งนามธรรม (Semi-Abstract) ยังสะท้อนถึงพฤติกรรมมนุษย์ และความทรงจำที่งดงามในวิถีชีวิตวัฒนธรรมของสังคมไทย | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.subject | การเขียนสีน้ำ | |
dc.title | หางเครื่อง : สีสันวงดนตรีลูกทุ่งสู่การสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำ | |
dc.title.alternative | Hngkrung-the colourful rhythm, with the cretivity in wtercolour pinting | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | ‘Hangkruang’ is an essential element for the present Thai folk song with the music, rhythm, and an attractively colorful designed costume which generally dazzlingly decorated with feathers, beads, and shiny materials. It reflects the vivid creation of the art of performance, which also stimulates the perception of the atmosphere and movements that inspires a watercolor painting with the concept. The objectives of this research are as follows: (1) To compile the knowledge and history of ‘Hangkrung’ with the outstandingly decorated and colorful attires that ignites the inspiration of the watercolor painting creation. (2) To study the works of foreign artists e.g. Wassily Kandinsky, Helen Frankenthaler, and Thai contemporary artists e.g. Thongchai Rakprathum, Somsak Chaotadapong, and Sannarong Singhasaenee, and apply the line of thoughts with the watercolor painting technique experimentation (3) To convey the viable emotion and movements of ‘Hangkrung’ with the watercolor painting technique. The methodology of this study is the combination of literature review and the watercolor painting technique experimentation with the idea of ‘Improvisation’ and the release of subconscious power. The outcome becomes a symbolic creation of the costume of ‘Hangkrung’, blending with the emotion, colors, and movements of the Thai folk’s performance. The result of this research demonstrates the prominent colorfulness and joyful motions of ‘Hangkrung’ with the expression through the watercolor painting technique. It presents the cheerfulness with the variety of colors, while the improvisation shows the interaction between ‘Hangkrung’ and music in the way of the trace from the brush stroke on the paper, the dimensional perception of the border lines, and the diffusion of the watercolor drops. In addition, this semi-abstract painting also reflects human behaviors and beautiful memories in the culture and lifestyle of Thais. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | ทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
54920594.pdf | 11.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น