กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8570
ชื่อเรื่อง: | การอนุรักษ์และเผยแพร่เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Ethnicl lullby: preservtion nd implementtion globl technology |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มนัส แก้วบูชา ชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร วันทยา บัวทอง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เพลงกล่อมเด็ก มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารศิลปะและวัฒนธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยเรื่องการอนุรักษ์และเผยแพร่เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสํารวจรวบรวม สังเคราะห์องค์ความรู้เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิเคราะห์ผลการอนุรักษ์และการรับรู้ระบบเผยแพร่เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีกรอบแนวคิดการวิจัยคือ การจัดการระบบวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพของกรมศิลปากร การจัดการความรู้ฉบับขับเคลื่อน LO ของประพนธ์ ผาสุขยืด หลักการสื่อความหมายและหลักการรับรู้จากวิธีสื่อสารและปฏิบัติการมิวเซียมออนไลน์ของสภาพิพิธภัณฑ์สถานนานาชาติ โดยนําข้อมูลชั้นต้นมาสร้างสรรค์สารัตถะ ผ่านสื่อเพลงกล่อมลูก ชาติพันธุ์เฉพาะในพื้นที่ซึ่งยังดํารงอยู่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการวิจัย คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังดํารงเพลงกล่อมลูกอยู่ ได้แก่ ชาวลาวพวน ตําบลโคกหัวข้าว อําเภอพนมสารคาม ชาวลาวเวียง ตําบลท่าถ่าน อําเภอพนมสารคาม ชาวมอญ ตําบลพิมพา อําเภอบางปะกง ชาวมุสลิม ตําบลดอนฉิมพลี อําเภอบางน้ำเปรี้ยว ชาวจีนแต้จิ๋ว ตําบลหน้าเมือง อําเภอเมือง ชาวเขมร ตําบลแปลงยาว อําเภอแปลงยาว และชาวไทย อําเภอบางปะกง ซึ่งผู้วิจัยได้นําข้อมูลเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวในงานภาคสนามมาดําเนินการสร้างสรรค์สารัตถะเพื่อจัดทําสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในชื่อว่า เจ็ดชาติพันธุ์รอวันเรียนรู้: 7 Ethnical Lullaby Museum Online ประกอบด้วยวิดีทัศน์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพลง เรื่องเล่า คํากลอน ย้อนอดีตของแม่ ผลการรับรู้จากวิธีสื่อสารและปฏิบัติการมิวเซียมออนไลน์ในระบบการเผยแพร่ เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจัดทําในสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พบว่า การจัดทําแบบสอบถามการรับรู้ในเพจและเว็บไซต์ มีผู้เข้าชม 310 คน การรับรู้จากผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ มีผู้ตอบแบบสอบถาม 295 คน ผลของการรับรู้ในภาพรวมทั้ง 2 แบบนี้ สรุปได้ว่า ผู้เข้าชมในเว็บไซต์ส่วนใหญ่เป็นบุคคลทั่วไป มีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีความสนใจในเพลงกล่อมลูกที่กําลังจะสูญหายและนําข้อมูลนั้นไปเผยแพร่เพราะตระหนักในคุณค่าของความรัก ความอบอุ่นระหว่างแม่ลูก ครอบครัวและความสําคัญของเพลงกล่อมลูก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8570 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
56920662.pdf | 153.9 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น