กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8568
ชื่อเรื่อง: หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสร้างสรรค์ประติมากรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sufficient economy philosophy to sculpture
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรดี พันธุภากร
เทพศักดิ์ ทองนพคุณ
รุจน์ ถวัลย์อรรณพ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
ประติมากรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสร้างสรรค์ประติมากรรมเป็นผลงานสร้างสรรค์ประติมากรรมที่แสดงออกถึงความศรัทธาและคุณค่าของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชทานให้กับประชาชนคนไทยทุกคน ผลงานชุดนี้ประกอบด้วยผลงานประติมากรรม จำนวน ๔ ชิ้น ที่สื่อความหมายถึงเนื้อหาของทฤษฎีต่าง ๆ ๙ ประการ ประกอบด้วย หลักการบริหารจัดการน้ำ หลักการปรับปรุงคุณภาพดิน หลักการสร้างและทำให้เกิดฝนเทียม หลักการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ หลักการทำบัญชีครัวเรือน หลักการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร หลักการทำไร่นาสวนผสม หลักการทำนาขั้นบันได และหลักการ ทำปศุสัตว์แบบพึ่งพา โดยหลักการทั้ง ๙ ได้นำหลักการมาออกแบบเรียบเรียงตามขั้นตอนการสร้างระบบวิถีชีวิตความพอเพียง นำมาบรรจุในรูปทรงอักษรตัวเลขไทย เพื่อเน้น และบ่งบอกถึงความสำคัญที่โดดเด่นและคุณค่าของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากอักษรตัวเลขไทย เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนชาติไทยที่มีคุณค่าเช่นกัน ทั้งนี้เนื้อหาของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่อยูํในรูปทรงของอักษรตัวเลขไทยนั้น นำมาประกอบอยู่ในโครงสร้างหลักของประติมากรรมซึ่งได้น้อมนำรูปทรงของหยดน้ำ, ต้นไม้ใหญ่และส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนามาใช้ในการสร้างสรรค์ เนื่องจากรูปทรง ดังที่กล่าวมานั้นเป็นรูปทรงที่บ่งบอกถึงคุณค่าทางศิลปะวัฒนธรรมของไทย อีกทั้งมีความหมาย เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่ยุคสมัยแรกของชนชาติไทย เพราะหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการดำเนินชีวิต เช่นเดียวกับพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติซึ่งก็เป็นหลักในการดำเนินชีวิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายถึงความสุขทั้งทางกายภาพและมโนภาพเช่นกัน ผลงานประติมากรรมชุดนี้มุ่งหวังเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง เป็นสุข พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนอีกทั้ง บ่งบอกถึงคุณค่า และความงามของศิลปะ วัฒนธรรมของไทยอีกด้วย ข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะนำเสนอผลงานประติมากรรมนี้อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้ที่สนใจเกิดความตระหนักถึงการพัฒนาชาติด้วยการนำเอาวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของไทยมาเป็นมุมมองหนึ่งที่เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยต่อไปเพื่อให้ความเป็นไทยได้ดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์อันโดดเด่นและดีงามที่ต่างชาติต่างให้การยอมรับสืบไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8568
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55920393.pdf4.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น