กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8558
ชื่อเรื่อง: ราชมรรคา : การออกแบบสื่อประสมเพื่อการเรียนรู้อารยธรรมขอมในอีสานใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Royl rod: designing multimedi for lerning of cmbodin heritge in south isn
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาติ เถาทอง
บุญชู บุญลิขิตศิริ
รุ่งนภา จะนันท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: สื่อ -- การออกแบบ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
อารยธรรม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ราชมรรคา: การออกแบบสื่อประสมเพื่อการเรียนรู้อารยธรรมขอมในอีสานใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และศิลปกรรมทางอารยธรรมขอมจากโบราณสถานที่ปรากฏในเส้นทางราชมรรคาในเขตประเทศไทย วิเคราะห์รูปแบบสื่อประสมในการนําเสนอเนื้อหาประวัติศาสตร์และศิลปกรรมทางอารยธรรมขอม และออกแบบชุดความรู้ สื่อประสมทางอารยธรรมขอมสําหรับติดตั้งภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผลการวิเคราะห์ด้านเนื้อหาเส้นทางราชมรรคาโดยภาพรวมประกอบไปด้วยมิติเชิงทรัพยากร มิติเชิงสังคม และมิติเชิงสัญญะรูปแบบศิลปกรรมขอมที่พบจากโบราณสถานตามเส้นทางราชมรรคาในเขตประเทศไทย แสดงออกมาในลักษณะเชิงสัญญะที่มีความเป็น “สห” หรือ ลักษณะร่วม ประกอบไปด้วย 4 มิติ คือ เรื่องเล่า วรรณคดี ความเชื่อ และศาสนา เมื่อนําความหมายในการสื่อสัญญะเหล่านั้นมาวิเคราะห์ทางการแสดงออกควบคู่กับหลักการทัศนศิลป์ จึงเป็นที่มาของการออกแบบสื่อประสมด้วยแนวคิด “สหสัญลักษณ์” ผลการศึกษาด้านรูปแบบที่เหมาะสมของสื่อประสมกับเนื้อหาใน 6 หัวข้อ ได้แก่ (1) ด้านลักษณะทางกายภาพเป็นการแสดงออกถึงโครงสร้างองค์ประกอบของเส้นทาง มีความเหมาะสมกับสื่อประสมในรูปแบบสัญลักษณ์และ แผนที่ด้วยการแสดงทัศนียภาพโดยรวม (2) ด้านประวัติศาสตร์เป็นการแสดงถึงการถ่ายทอดเรื่องราว ได้รูปแบบที่เหมาะสมคือการนําเสนอด้วยสื่อกราฟิกประกอบภาพเคลื่อนไหวควบคู่กับเสียงบรรยาย (3) ด้านแผนผังสถาปัตยกรรมแสดงออกถึงจินตนาการได้รูปแบบที่เหมาะสม คือ การใช้ภาพกราฟิกผสมกับการจัดวางตําแหน่งด้วยแผนผังในลักษณะ 2 มิติ พร้อมตัวอักษร (4) ด้านลวดลายเครื่องประดับ แสดงออกถึงรูปทรงที่สวยงาม ได้รูปแบบที่เหมาะสมคือการฉายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวควบคู่กับเสียงบรรยาย (5) ด้านภาพจําหลักเล่าเรื่องเป็นการแสดงออกถึงอารมณ์ได้รูปแบบที่เหมาะสมคือการนําเสนอด้วยภาพลายเส้นประกอบอนิเมชัน (6) ด้านประติมากรรม แสดงออกถึงการเลียนแบบ ได้รูปแบบที่เหมาะสมคือการนําเสนอด้วยลักษณะหุ่นจําลองเสมือน ร่วมกับตัวอักษร เมื่อได้รูปแบบสื่อประสมทั้งหมดแล้วจึงนํามาออกแบบเป็นชุดความรู้สื่อประสม เพื่อจัดวางภายในห้องนิทรรศการศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8558
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810063.pdf433.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น