กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8550
ชื่อเรื่อง: | ลักษณะเฉพาะของวงปี่จุม : ช่างปี่ ช่างซอ และสล่าปี่เมืองลำพูน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Chrcteristic of pee jum ensemble: musicin, voclist nd music mde in lumphun province,ช่างปี่ ช่างซอ และสล่าปี่เมืองลำพูน |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนะรัชต์ อนุกูล มนัส แก้วบูชา นิตยา อุตระธานี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปี่ เครื่องดนตรีไทย ปี่ -- การผลิต มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องลักษณะเฉพาะวงปี่จุม ช่างปี่ ช่างซอและสล่าปี่เมืองลําพูน มีวัตถุประสงค์สําคัญ คือ เพื่อศึกษาภูมิสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวเมืองลําพูน ศึกษาลักษณะเฉพาะของวงปี่จุมและบริบททางวัฒนธรรมดนตรีของพื้นที่ศึกษา และเพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและระบบเสียงปี่จุมของสล่าปี่ โดยการวิจัยครั้งนี้ได้สํารวจบันทึก จําแนก วิเคราะห์จากวงปี่จุม คณะร่วมมิตรสามัคคี ตําบลดงดํา อําเภอลี้ และคณะลูกแม่ลี้สามัคคี ตําบลทุ่งข้าวหาง อําเภอทุ่งหัวช้าง ซึ่งนําระเบียบวิธีดําเนินการวิจัย คือ หลักการบริหารมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ หลักการจัดการความรู้ หลักการวิเคราะห์ของแท้และดั้งเดิม หลักการพิจารณาคุณค่า และคุณลักษณะทางวัฒนธรรม ตลอดจนหลักการดนตรีชาติพันธุ์มาประยุกต์ใช้กับการวิจัย ผลการวิจัยภูมิสังคมและวัฒนธรรมการดนตรีเมืองลําพูนพบว่า เมืองลําพูนเป็นเมืองเก่า ยุคทวารวดี มีเมืองหริภุญไชยเป็นราชธานีซึ่งปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีด้วยเมืองนี้มีกลุ่มคน และดนตรีหลากหลาย ผู้วิจัยจึงสํารวจวิจัยวงปี่จุมคณะร่วมมิตรสามัคคีและคณะลูกแม่ลี้สามัคคี พบว่าทั้งสองคณะมีเพลงที่เป็นของแท้และดั้งเดิมคือ (1) เพลงตั้งเชียงใหม่ มี 10 ท่อน พร้อมคําร้องที่มีเนื้อหาเป็นบทเพลงโหมโรง (2) เพลงจะปุ มี 2 ท่อน พร้อมคําร้องเป็นนิทาน เล่าเรื่อง สอนใจ (3) เพลงละหม้าย มี 2 ท่อน พร้อมคําร้องเป็นนิทานและเรื่องเล่าที่ครึกครื้นสนุกสนาน (4) เพลงอื่อ มีท่อนเดียว คําร้องเป็นบทอําลา เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบเพลงได้บันทึกโน้ตไทย ประกอบด้วยปี่ 3 เล่ม คือ ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่เล็ก และซึง โดยไม่มีกลองเมืองกํากับจังหวะ เพลงชุดนี้ขับซอโดย แม่บัวซอน ถนอมบุญ ส่วนปี่จุมประดิษฐ์โดยสล่า คือ พ่ออุ้ยสมฤทธิ์ เป็งดอย ซึ่งมีเชิงช่าง สัดส่วนและแนวการตั้งเสียงเก่าแก่ คือ ปี่ ก้อยมีฐานเสียงความถี่ที่ 392.1-359.1 เฮิรตซ์ของพิสัยซอล-ซอลสูง ปรากฏระยะชิดที่ 1-2 และ 6-7 ส่วนปี่กลางมีฐานเสียงความถี่ที่ 231.3-356.9 เฮิรตซ์ของพิสัยโด -โดสูง ปรากฏระยะชิดที่ 4-5 และปี่เล็กมีฐานเสียงความถี่ที่ 539.5-963.4 เฮิรตซ์ของพิสัยโด-โดต่ำ ซึ่งปรากฎระยะชิดที่ 1-2 ตามลําดับ ผลการค้นพบนี้คือลักษณะเฉพาะของวงปี่จุมเมืองลําพูน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8550 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
56920659.pdf | 83.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น