กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8516
ชื่อเรื่อง: | หัตถกรรมแบบดั้งเดิม (THRD) เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาโดยการออกแบบผ่านความรู้สึก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Trditionl hndicrft regenertion design (thrd) for conservtion nd development through innovtive method bsed on emotionl design |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมชาย เซะวิเศษ เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง บิน, วู มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ Bin, Wu |
คำสำคัญ: | หัตถกรรม -- การออกแบบ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ หัตถกรรม -- จีน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาวิธีการอนุรักษ์และพัฒนาหัตถกรรมแบบดั้งเดิมของประเทศจีนไว้เป็นแนวทางตัวอย่างในการพัฒนาการออกแบบหัตถกรรมแบบดั้งเดิม ตลอดจนสามารถนําวิธีการที่ค้นพบมาประยุกต์ใช้และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมแบบดั้งเดิมใหม่ด้วยเทคนิคการฟื้นฟูผลิตภัณฑ์เดิม จากการศึกษาพบว่า ในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ผลงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมกลายเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบันและไม่มีที่ยืนในตลาดส่งผลให้งานหัตถกรรม แบบดั้งเดิมของท้องถิ่นกําลังค่อย ๆ สาบสูญไปจากประเทศและถูกแทนที่ด้วยเครื่องใช้และสินค้า อุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ทั้งนี้ เมื่อผู้วิจัยได้ศึกษาตัวอย่างโครงการการพัฒนาการออกแบบหัตถกรรมแบบดั้งเดิมตามแนวคิดแบบเบาเฮาส์ (Bauhaus) ลัทธิสมัยนิยม (Neomodernism) OVOP (One Village One Product) OTOP (One Tambon One Product) และแนวคิดการออกแบบใหม่ พบว่า หัตถกรรมแบบดั้งเดิมในแต่ละประเทศมีขนาดกิจการที่หลากหลายและมี รูปแบบการมีส่วนร่วมของเอกชนและรัฐวิสาหกิจด้วยแต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม มีเพียงส่วนน้อย เท่านั้นที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเงินทุนทําให้งานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมต้องเผชิญกับปัญหาการแข่งขันทางการตลาดที่สูงถูกตีกรอบทางความคิดและมีข้อผูกมัดต่าง ๆ จํานวนมากจนทําให้ผู้คนในประเทศขาดความคิดสร้างสรรค์และการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ทําให้ผู้วิจัยได้นําระบบ THRD (ระบบ หัตถกรรมแบบดั้งเดิมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาโดยการออกแบบผ่านความรู้สึก) มาใช้ในการแก้ปัญหาที่หัตถกรรมแบบดั้งเดิมกําลังประสบอยู่ ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์ได้ดังนี้ (1) สามารถค้นพบเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสําคัญกับแนวคิด “การออกแบบใหม่” (2) มีแนวทางการทํางานที่น่าสนใจและสามารถดึงดูดให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมได้เป็นจํานวนมาก (3) มีแนวทางการพัฒนาที่หลากหลายและสามารถส่งต่อข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตพลัส และ (4) สามารถส่ง อิทธิพลต่อระบบการศึกษาในปัจจุบันทั้งในด้านการผลิต การศึกษาและการวิจัยได้เป็นอย่างดี โดยได้กําหนดขอบเขตการดําเนินงานของระบบ THRD เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนไว้คือช่างฝี มือคือ ผู้ให้บริการหลักทางด้านวัฒนธรรมงานหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์ สถาบันอุดมศึกษาคือหน่วยงานที่ผลักดันให้เกิดทีมงานช่างฝี มือที่มีประสิทธิภาพระดับสูง และรัฐบาลคือหน่วยงานที่วางแผนการพัฒนาศิลปหัตถกรรมแบบดั้งเดิมอย่างยั่งยืน |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8516 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57810061.pdf | 95.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น