กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8508
ชื่อเรื่อง: | รื่นรมย์สำราญ : การหาดุลยภาพของความหมายระหว่างประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Joyful&plesnt: findingblnceof meningbetween sculpture nd environment |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชาติ เถาทอง วิโชค มุกดามณี สรไกร เรืองรุ่ง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ ประติมากรรม จินตภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเกิดจากกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์มาสู่วิธีการและขั้นตอนการสร้างสรรค์ให้ได้มาซึ่งผลงานศิลปะที่ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ และมีความสมบูรณ์ สวยงามด้วยองค์ประกอบทางศิลปะและบริบทของพื้นที่ ปัจจุบันการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะมักเกิดขึ้นจากการตอบสนองทางด้านจิตใจเป็นสําคัญ เมื่อศิลปินสร้างสรรค์ผลงานจนเสร็จสมบูรณ์ก็มีการจัดเก็บในหอศิลป์ หรือสถานที่ต่าง ๆ หรือการจัดตั้งในสถานที่ต่าง ๆ โดยอาจมองข้ามหรือไม่คํานึงถึง ความเหมาะสมของผลงานศิลปะและบริบทของพื้นที่นั้น ๆ วิจัยแบบสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม “รื่นรมย์สําราญ” เป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ที่เกิดจากการหาดุลยภาพของความหมายระหว่างประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการสร้างรูปทรงที่ได้ จากการศึกษาบริบทของพื้นที่โดยมีการคํานึงถึงคุณค่าทางสุนทรียะของผลงานซึ่งผลงานประติมากรรม “รื่นรมย์สําราญ” นี้ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อส่งเสริมภูมิทัศน์บริเวณสี่แยกหาดเจ้าสําราญ อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยมีการประเมินผลการรับรู้และความพึงพอใจจากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและผู้ที่ได้ร่วมชมผลงานประติมากรรม ทําให้ได้มาซึ่งผลงานประติมากรรมที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านรูปทรงและความสัมพันธ์กับพื้นที่ติดตั้งผลงาน การวิจัยและสร้างสรรค์นี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตําบลหาดเจ้าสําราญ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งในการศึกษาพบว่าการสร้างสรรค์ผลงานให้เข้ากับพื้นที่นั้นจะ สร้างสรรค์ผลงานตามจิตนาการ อารมณ์ ความรู้สึกของส่วนตัวไม่ได้ เพราะจะทําให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด และความรู้สึกของคนในชุมชนในพื้นที่ได้ หรืออาจส่งผลถึงการต่อต้านให้รื้อถอนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในบางพื้นที่ทั้งนี้ควรคํานึงถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่ เนื้อหาและเรื่องราว และความเพิ่งพอใจต่อชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะทําให้ส่งผลไปถึงอารมณ์ความรู้สึกที่จะเกิดเป็นความสุขตามชื่อของพื้นที่นี้ และเกิดดุลยภาพระหว่างกันประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม จากประเด็นดังกล่าวการสร้างสรรค์ผลงาน ประติมากรรม “รื่นรมย์สําราญ” พบว่า สามารถส่งเสริมภูมิทัศน์ และสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่ได้ และทําให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมและเห็นคุณค่าของผลงานศิลปะที่มีต่อสังคม สามารถรับรู้ความงาม หรือความสุนทรีต่องานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะพื้นที่โครงการวิจัยเรื่อง รื่นรมย์สําราญ: การหาดุลยภาพของความหมายระหว่างประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมจะมีประโยชน์และสามารถเป็นแนวทางสําหรับการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมแก่ผู้ที่สนใจและต้องการศึกษาเกี่ยวกับประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมสืบไป |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8508 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
53810068.pdf | 120.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น