กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/82
ชื่อเรื่อง: | วิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษา และสังคมที่มี ต่อการพัฒนาภูมิภาค และบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทยระหว่าง พ.ศ. 2475-2535 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An Analysis of the Educational and Social Policy of Government towards Thai Eastern Region and Eastern Sea Board Area's Development During B.E. 2475-2535 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาสังคม นโยบายการศึกษา - - ไทย (ภาคตะวันออก) นโยบายสังคม - - ไทย (ภาคตะวันออก) สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2541 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ภาคตะวันออกของประเทศไทยประกอบด้วยพื้นที่ 8 จังหวัด คือ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว มีเนื้อที่ประมาณ 36,503 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ แต่มีประชากรนับถืออิสรามมากเป็นที่สองของประเทศรองจากภาคใต้ จัดเป็นเขตการศึกษา 12 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ดินแดนแถบนี้มีความเป็นมาในฐานะเมื่องท่าชายทะเล เมืองที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง และผลประโยชน์ของชาติ เมืองหน้าด่านทั้งทางบกและทางทะเล และเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เศรษฐกิจโดยรวมประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงกว่าภูมิภาคอื่น ปัญหาหลักของภูมิภาค คือ ปัญหาการขยายตัวของชุมชนเมือง ปัญหามลภาวะ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย และปัญหาผลกระทบตามแนวชายแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน การวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษาและสังคม พบว่า รัฐบาลมีนโยบายขยายการศึกษา และพัฒนาสังคมออกสู่ภูมิภาคตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เพื่อยกระดับคุณภาพของประชาชน แต่เป็นการดำเนินการไปพร้อมกันทั้งประเทศ ยังไม่ได้มีนโยบายพัฒนาภาคตะวันออกเป็นการเฉพาะพื้นที่จนกระทั่งหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ รัฐบาลมีนโยบายขยายการศึกษาออกไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึง ให้ประชาชนมีความรู้มากขึ้น เพื่อจะได้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการปกครองที่เปลี่ยนไป เป็นการพัฒนาการเมืองโดยมีเงื่อนไขด้านการศึกษาเป็นตัวกำหนด ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนหลายแห่งในกรุงเทพฯ หยุดกิจการเพราะภัยทางอากาศ และย้ายมาเปิดการสอนในภาคตะวันออกแทน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงภาคตะวันออกได้รับความสนใจจากรัฐบาลมากขึ้น เพราะมีโครงการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาโดยได้รับความร่วมมือจากองค์การระหว่างประเทศ ได้ริเริ่มทดลองระบบการศึกษาแบบใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา โรงเรียนและสถาบันการศึกษาหลายแห่งจากหลายจังหวัดในภาคตะวันออก เป็นสถานที่ดำเนินการจัดการทดลองในโครงการต่าง ๆ หลายโครงการ ก่อนที่จะขยายไปดำเนินการในภูมิภาคอื่น จึงมีผลทำให้ภาคตะวันออกได้พัฒนาไปด้วยในหลาย ๆ ด้าน ภายหลังประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับแรก พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา นโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาภาคตะวันออกชัดเจนขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่มีการขุดพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ถูกกำหนดไว้ในแผนพัฒนาให้เป็นเขตอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งผลกระทบต่อการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษา สถานศึกษา และกระบวนการทางการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมุ่งเน้นสาขาที่สัมพันธ์กับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาภูมิภาคด้านกำลังคนที่ไม่สมดุลในแต่ละสาขา ปัญหาการประสานงานไม่สัมพันธ์กันของภูมิภาคกับส่วนกลาง ปัญหาสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคตามมา ดังนั้นการกำหนดและดำเนินนโยบายของรัฐบาลต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ของภูมิภาคให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาด้วย เพื่ออำนวยให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาภูมิภาคอย่างเหมาะสมโดยตรง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/82 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2568_054.pdf | 12.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น