กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/82
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.available2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.issued2541
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/82
dc.description.abstractภาคตะวันออกของประเทศไทยประกอบด้วยพื้นที่ 8 จังหวัด คือ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว มีเนื้อที่ประมาณ 36,503 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ แต่มีประชากรนับถืออิสรามมากเป็นที่สองของประเทศรองจากภาคใต้ จัดเป็นเขตการศึกษา 12 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ดินแดนแถบนี้มีความเป็นมาในฐานะเมื่องท่าชายทะเล เมืองที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง และผลประโยชน์ของชาติ เมืองหน้าด่านทั้งทางบกและทางทะเล และเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เศรษฐกิจโดยรวมประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงกว่าภูมิภาคอื่น ปัญหาหลักของภูมิภาค คือ ปัญหาการขยายตัวของชุมชนเมือง ปัญหามลภาวะ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย และปัญหาผลกระทบตามแนวชายแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน การวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษาและสังคม พบว่า รัฐบาลมีนโยบายขยายการศึกษา และพัฒนาสังคมออกสู่ภูมิภาคตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เพื่อยกระดับคุณภาพของประชาชน แต่เป็นการดำเนินการไปพร้อมกันทั้งประเทศ ยังไม่ได้มีนโยบายพัฒนาภาคตะวันออกเป็นการเฉพาะพื้นที่จนกระทั่งหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ รัฐบาลมีนโยบายขยายการศึกษาออกไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึง ให้ประชาชนมีความรู้มากขึ้น เพื่อจะได้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการปกครองที่เปลี่ยนไป เป็นการพัฒนาการเมืองโดยมีเงื่อนไขด้านการศึกษาเป็นตัวกำหนด ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนหลายแห่งในกรุงเทพฯ หยุดกิจการเพราะภัยทางอากาศ และย้ายมาเปิดการสอนในภาคตะวันออกแทน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงภาคตะวันออกได้รับความสนใจจากรัฐบาลมากขึ้น เพราะมีโครงการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาโดยได้รับความร่วมมือจากองค์การระหว่างประเทศ ได้ริเริ่มทดลองระบบการศึกษาแบบใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา โรงเรียนและสถาบันการศึกษาหลายแห่งจากหลายจังหวัดในภาคตะวันออก เป็นสถานที่ดำเนินการจัดการทดลองในโครงการต่าง ๆ หลายโครงการ ก่อนที่จะขยายไปดำเนินการในภูมิภาคอื่น จึงมีผลทำให้ภาคตะวันออกได้พัฒนาไปด้วยในหลาย ๆ ด้าน ภายหลังประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับแรก พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา นโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาภาคตะวันออกชัดเจนขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่มีการขุดพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ถูกกำหนดไว้ในแผนพัฒนาให้เป็นเขตอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งผลกระทบต่อการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษา สถานศึกษา และกระบวนการทางการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมุ่งเน้นสาขาที่สัมพันธ์กับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาภูมิภาคด้านกำลังคนที่ไม่สมดุลในแต่ละสาขา ปัญหาการประสานงานไม่สัมพันธ์กันของภูมิภาคกับส่วนกลาง ปัญหาสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคตามมา ดังนั้นการกำหนดและดำเนินนโยบายของรัฐบาลต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ของภูมิภาคให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาด้วย เพื่ออำนวยให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาภูมิภาคอย่างเหมาะสมโดยตรงth_TH
dc.description.sponsorshipสนับสนุนทุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2539en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการพัฒนาสังคมth_TH
dc.subjectนโยบายการศึกษา - - ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectนโยบายสังคม - - ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษา และสังคมที่มี ต่อการพัฒนาภูมิภาค และบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทยระหว่าง พ.ศ. 2475-2535th_TH
dc.title.alternativeAn Analysis of the Educational and Social Policy of Government towards Thai Eastern Region and Eastern Sea Board Area's Development During B.E. 2475-2535en
dc.typeResearch
dc.year2541
dc.description.abstractalternativeAbstract: The Eastern Region of Thailand consist of eight provinces, namely Nakornnayok. Chachoengsao, Chonburi,Rayong, Chantaburi, Trad, Prachinburi and Sakhaew. It covers and area of 36,503 square kilometers and has a population of approximately 4 million peple. Most of the inhabitants are Buddhists, but the Muslim population comprises the second largest religious group and is second only to the Southern Region for total number of Muslims. The Eastern Region has been organized as Educational Zone 12 since B.E. 2500 and Chonburi is the center of the region. This area is important because of its seaport, because it is a buffer area between Thailand and neighbouring countries. because of its prominance in national security and interest and because it is a beautiful area for tourists. The economy of this region is more developed than other regions. The major problems of the region are the rapid urbanization, pollution, the destruction of national resources and the effects of political conflicts in neighbouring countries. A historical analysis of educational and social policy of the Thai government revealed that there was a fundamental policy of social and educational development for the provinces as a part of national development since before the political change in B.E. 2547. After that, the government announced the policy for upgrading the quality of life in the provinces following the constitutional stipulation. During the World War II, many schools in Bangkok were moved to the Eastern Region in order to avoid the aerial attacks and this region was later selected as a location for adaptation and development of education under the cooperative project of international organization. Since B.E.2493,educational institutions in this area were set up especially for these projects and then the projects were expanded to the other regions of the country. After the National Economics and Social Plan was put to use in B.E. 2504, the policy of the Thai government toward the Eastern Region has been more clear cut. When oil and natural gas were discovered in the Gulf of Thailand in B.E.2524, the three provinces of Chachoengsao, Chonburi and Rayong was targeted by the government to be a new industrial development zone of the country. Since then,education in the Eastern Region has been developed as an instrument for upgrading manpower and expanding industry. Problems with this developmental policy include its impact on the development region in coordination between region and metropolitan area, social problem,pollution in the region and the imballance of human resources in liberal arts, social sciences, sciences and technologies created by urgent policy. These problems, developed because the government of some periods enforce the policy without consideration of the geographical. historical, political, economical, social and cultural conditions of the region. The government, therefore, regularly evaluates the results of its policy in order to improve upon its appropriateness for sustainable development in the regionen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_054.pdf12.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น