กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8112
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องของประชาชนในเขตภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Psychologicl fctor ffecting continuity of exercise behviour retention of people in estern region of thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีพร อนุศาสนนันท์
ฉัตรกมล สิงห์น้อย
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
สุพัตรา รักษาสนธิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: การออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย -- พฤติกรรม
Health Sciences
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องของประชาชนในเขตภาคตะวันออกกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่ออกกำลังกายในสถานออกกำลังกายและสวนสาธารณะในเขตภาคตะวันออกอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 390 คน เป็นเพศชาย 227 คน และเพศหญิง 162 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์เปรียบเทียบ t-test for independent sample และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ Multiple regression analysis โดยวิธี Stepwise ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องของประชาชนในเขตภาคตะวันออกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ เจตคติและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการออกกำลังกาย ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถตนเองและการหล่อหลอมเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ในการออกกำลังกาย ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำ ลังกายอย่างต่อเนื่องของประชาชนอย่างไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. เพศชาย และเพศหญิง มีระดับเจตคติการรับรู้ความสามารถตนเองแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การหล่อหลอมเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และความต่อเนื่องของการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยเพศชายมีระดับของการรับรู้ความสามารถตนเองแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การหล่อหลอมเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และความต่อเนื่องของการออกกำลังกายสูงกว่าเพศหญิงแต่พบว่า เพศหญิงมีระดับของเจตคติในการออกกำ ลังกายสูงกว่าเพศชาย 3. ประชาชนที่ออกกำลังกายในสวนสาธารณะและสถานออกกำลังกาย มีระดัยเจตคติ การหล่อหลอมเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และความต่อเนื่องของการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยประชาชนที่ออกกำลังกายในสวนสาธารณะมีระดับเจตคติในการออกกำลังกาย และความต่อเนื่องของการออกกำลังกายสูงกว่าในสถานออกกำลังกายในทางตรงกันข้ามประชาชนที่ออกกำลังกายในสถานออกกำลังกายมีระดับการหล่อหลอมเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ในการออกกำลังกายสูงกว่าออกกำลังกายในสวนสาธารณะอย่างไรก็ตาม ระดับการรับรู้ความสามารถตนเองและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ในการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4. ปัจจัยที่ร่วมทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องของประชาชนในเขตภาคตะวันออกได้แก่ เจตคติ (X1 ) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการออกกำลังกาย (X3 ) ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอนจากคะแนนดิบ ดังนี้ Y^ = -112.586+16.199X1+ 16.604X3
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปรด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8112
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810027.pdf1.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น