กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8112
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisorฉัตรกมล สิงห์น้อย
dc.contributor.advisorนฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
dc.contributor.authorสุพัตรา รักษาสนธิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned2023-05-12T07:34:27Z
dc.date.available2023-05-12T07:34:27Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8112
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปรด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องของประชาชนในเขตภาคตะวันออกกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่ออกกำลังกายในสถานออกกำลังกายและสวนสาธารณะในเขตภาคตะวันออกอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 390 คน เป็นเพศชาย 227 คน และเพศหญิง 162 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์เปรียบเทียบ t-test for independent sample และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ Multiple regression analysis โดยวิธี Stepwise ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องของประชาชนในเขตภาคตะวันออกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ เจตคติและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการออกกำลังกาย ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถตนเองและการหล่อหลอมเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ในการออกกำลังกาย ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำ ลังกายอย่างต่อเนื่องของประชาชนอย่างไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. เพศชาย และเพศหญิง มีระดับเจตคติการรับรู้ความสามารถตนเองแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การหล่อหลอมเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และความต่อเนื่องของการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยเพศชายมีระดับของการรับรู้ความสามารถตนเองแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การหล่อหลอมเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และความต่อเนื่องของการออกกำลังกายสูงกว่าเพศหญิงแต่พบว่า เพศหญิงมีระดับของเจตคติในการออกกำ ลังกายสูงกว่าเพศชาย 3. ประชาชนที่ออกกำลังกายในสวนสาธารณะและสถานออกกำลังกาย มีระดัยเจตคติ การหล่อหลอมเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และความต่อเนื่องของการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยประชาชนที่ออกกำลังกายในสวนสาธารณะมีระดับเจตคติในการออกกำลังกาย และความต่อเนื่องของการออกกำลังกายสูงกว่าในสถานออกกำลังกายในทางตรงกันข้ามประชาชนที่ออกกำลังกายในสถานออกกำลังกายมีระดับการหล่อหลอมเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ในการออกกำลังกายสูงกว่าออกกำลังกายในสวนสาธารณะอย่างไรก็ตาม ระดับการรับรู้ความสามารถตนเองและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ในการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4. ปัจจัยที่ร่วมทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องของประชาชนในเขตภาคตะวันออกได้แก่ เจตคติ (X1 ) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการออกกำลังกาย (X3 ) ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอนจากคะแนนดิบ ดังนี้ Y^ = -112.586+16.199X1+ 16.604X3
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการออกกำลังกาย
dc.subjectการออกกำลังกาย -- พฤติกรรม
dc.subjectHealth Sciences
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.titleปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องของประชาชนในเขตภาคตะวันออก
dc.title.alternativePsychologicl fctor ffecting continuity of exercise behviour retention of people in estern region of thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate psychological factors affecting continuity of exercise behavior retention of people in eastern Thailand. The participants were 390 volunteers, with the minimum age of 18 (227 males and 162 females), who exercise in fitness centers or public parks. The statistical methods used to for quantitative analysis were percentage, means, standard deviations, independent t-test, One-way ANOVA, and Stepwise Multiple Regression analysis. The results were as follows: 1. Psychological factors affecting the continuity of exercise behavior retention of people in the east of Thailand were attitudes and achievement motivation (p ≤ .05). Perceived self-efficacy and achievement goal orientation were not significant (p ≤ .05). 2. Exercise continuity of people with different gender has statistically different attitudes, perceived self-efficacy, achievement motivation, achievement goal orientation and continuity of exercise behavior at p ≤ .05. Male exerciser perceived self-efficacy, achievement motivation, achievement goal orientation and continuity of exercise behavior which is shown at high level than females. However, female exercisers’ attitudes were at higher level, comparing to male exercisers. 3. Exercisers working out at different places have significantly different attitudes. Achievement goal orientation in exercise and continuity of exercise behavior (p ≤ .05). In fact, people who exercise in public parks show higher level of attitudes and continuity of exercise behavior than those who work out at fitness centers. On the contrary, exercising at fitness centers shows higher of achievement goal orientation in exercise than those who exercise at public parks. However, perceived self-efficacy and achievement motivation in exercise were not significant (p ≤ .05). 4. Attitudes (X1 ) and achievement motivation (X3 ) can predict the continuity of exercisers’ exercise behavior retention and can be written in the form of Raw Score Regression equation: Y^= -112.586 + 16.199X1+ 16.604X3
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810027.pdf1.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น