กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8087
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมโดยใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prosocil behviors development using cognitive behvior integrted modifiction progrm: n event-relted potentil study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสรี ชัดแช้ม
กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: พฤติกรรมการช่วยเหลือ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา
พฤติกรรมองค์การ
คลื่นไฟฟ้า
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: พฤติกรรมเอื้อต่อสังคมเป็นการกระทําเนื่องจากความคิด ความรู้สึกเอาใจใส่ มีน้ำใจเห็นแก่ผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือสังคม ด้วยความเต็มใจ ไม่คาดหวังผลตอบแทน ถือเป็นพฤติกรรมจริยธรรมที่มีคุณค่าสูงในทุกสังคมการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการสําหรับพัฒนาพฤติกรรมเอื้อต่อสังคม พัฒนามาตรวัดพฤติกรรม เอื้อต่อสังคมเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเอื้อต่อสังคม เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสูงและความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 ระหว่างก่อนกับหลังการทดลองและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นทั้งเพศชายและเพศหญิง ในปีพ.ศ.2560 อายุระหว่าง 20-24 ปี จํานวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการ (CBIM) จํานวน 30 คน กับกลุ่มใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญา (CBM) จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการ มาตรวัด พฤติกรรมเอื้อต่อสังคม และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองระบบ NeuroScan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณทางเดียว (One-way MANCOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า มาตรวัดที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพทั้งด้านค่าอํานาจจําแนกรายข้อ ค่าความตรงรายข้อ และค่าความเที่ยงทั้งฉบับ กลุ่มใช้โปรแกรม CBIM มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มใช้โปรแกรม CBM หลังการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะตัดสินใจเอื้อต่อสังคมด้วยการไม่ช่วยเหลือ และมีค่าเฉลี่ยความสูงของ คลื่นไฟฟ้าสมอง P300 สูงกว่ากลุ่มใช้โปรแกรม CBM ในบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) ที่ตําแหน่ง FPz และ Fz บริเวณเปลือกสมองส่วนกลาง (Central lobe) ที่ตำแหน่ง FCz, Cz และ CPz อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะให้เหตุผลเอื้อต่อสังคมด้วยการเห็นแก่ตนเอง กลุ่มใช้โปรแกรม CBIM มีค่าเฉลี่ยความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 สูงกว่ากลุ่มใช้โปรแกรม CBM ในบริเวณเปลือกสมองส่วนกลาง (Central lobe) ที่ตําแหน่ง FCz, Cz และ CPz อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า หลักการของทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่ใช้ในโปรแกรม CBIM สามารถเพิ่มพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมให้กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8087
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น