กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8007
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาโปรแกรมนวดผสมผสานการนวดไทยแบบราชสำนักกับการกดจุดแบบจีนสำหรับผ่อนคลายความเครียดและเพิ่มคุณภาพการนอนหลับในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับชนิดปฐมภูมิ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of mixed mssge progrm by integrting the royl thi nd chinese cupressure techniques for relieving stress nd incresing the sleep qulity of people with primry insomni |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์ สุชาดา กรเพชรปาณี ขวัญเรียม นิมสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การบำบัดด้วยการนวด การนวด มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ ถ้านอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมนวดผสมผสานการนวดไทยแบบราชสำนักกับการกดจุดแบบจีน 2) นำโปรแกรมนวดที่พัฒนาขึ้นไปใช้ โดยเปรียบเทียบการผ่อนคลายความเครียด และคุณภาพการนอนหลับ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการนวดตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีอาการนอนไม่หลับชนิดปฐมภูมิ อายุระหว่าง 15-60 ปี ได้มาโดย การอาสาสมัคร จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมนวดที่พัฒนาขึ้น เครื่องตรวจการนอนหลับ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบวัดความเครียดสวนปรุง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบทีและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรมนวดผสมผสานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การนวดตามแนวเส้นพื้นฐาน 11 เส้น เป็นเวลา 55 นาที การนวดจุดสัญญาณ 16 จุด เวลา 15 นาที และการกดจุดจีน 7 จุด เป็นเวลา 20 นาที รวมใช้เวลาทั้งหมด 90 นาที โดยมีการลงน้ำหนัก 3 ระดับ คือ 50, 70 และ 90 ปอนด์ 2) ความเครียดระยะหลังการนวดในกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการนวด (p<.01) และความเครียดระยะหลังการนวดในกลุ่มทดลองลดลงกว่ากลุ่มควบคุม (p<.01) 3) คุณภาพการนอนหลับ ผลการตรวจการนอนหลับทางด้านประสิทธิภาพการนอนหลับ เวลารวมเฉพาะหลับจริง และระยะเวลา ที่เข้านอนจนหลับระยะหลังการนวดในกลุ่มทดลองดีขึ้นกว่าก่อนการนวด (p<.01) และคุณภาพ การนอนหลับ ประสิทธิภาพการนอนหลับและเวลารวมเฉพาะหลับจริงระยะหลังการนวดในกลุ่มทดลอง ดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม (p<.01) และ 4) ระยะหลังการนวดในกลุ่มทดลอง มีระยะการนอนหลับ NREM ช่วงที่ 3 และระยะการนอนหลับ REM Sleep ไม่แตกต่างกับระยะก่อนการนวด และระยะเวลาที่เข้านอนจนหลับ ระยะการนอนหลับ NREM ช่วงที่ 3 และระยะการนอนหลับ REM Sleepไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมแต่มีแนวโน้มดีขึ้นกว่าและใกล้เคียงค่าปกติมากยิ่งขึ้น สรุปได้ว่า โปรแกรมนวดผสมผสานที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับชนิดปฐมภูมิ ให้มีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นและลดความเครียดลงได้ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8007 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 6.9 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น