กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8007
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
dc.contributor.advisorสุชาดา กรเพชรปาณี
dc.contributor.authorขวัญเรียม นิมสุวรรณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:43:36Z
dc.date.available2023-05-12T06:43:36Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8007
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ ถ้านอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมนวดผสมผสานการนวดไทยแบบราชสำนักกับการกดจุดแบบจีน 2) นำโปรแกรมนวดที่พัฒนาขึ้นไปใช้ โดยเปรียบเทียบการผ่อนคลายความเครียด และคุณภาพการนอนหลับ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการนวดตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีอาการนอนไม่หลับชนิดปฐมภูมิ อายุระหว่าง 15-60 ปี ได้มาโดย การอาสาสมัคร จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมนวดที่พัฒนาขึ้น เครื่องตรวจการนอนหลับ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบวัดความเครียดสวนปรุง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบทีและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรมนวดผสมผสานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การนวดตามแนวเส้นพื้นฐาน 11 เส้น เป็นเวลา 55 นาที การนวดจุดสัญญาณ 16 จุด เวลา 15 นาที และการกดจุดจีน 7 จุด เป็นเวลา 20 นาที รวมใช้เวลาทั้งหมด 90 นาที โดยมีการลงน้ำหนัก 3 ระดับ คือ 50, 70 และ 90 ปอนด์ 2) ความเครียดระยะหลังการนวดในกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการนวด (p<.01) และความเครียดระยะหลังการนวดในกลุ่มทดลองลดลงกว่ากลุ่มควบคุม (p<.01) 3) คุณภาพการนอนหลับ ผลการตรวจการนอนหลับทางด้านประสิทธิภาพการนอนหลับ เวลารวมเฉพาะหลับจริง และระยะเวลา ที่เข้านอนจนหลับระยะหลังการนวดในกลุ่มทดลองดีขึ้นกว่าก่อนการนวด (p<.01) และคุณภาพ การนอนหลับ ประสิทธิภาพการนอนหลับและเวลารวมเฉพาะหลับจริงระยะหลังการนวดในกลุ่มทดลอง ดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม (p<.01) และ 4) ระยะหลังการนวดในกลุ่มทดลอง มีระยะการนอนหลับ NREM ช่วงที่ 3 และระยะการนอนหลับ REM Sleep ไม่แตกต่างกับระยะก่อนการนวด และระยะเวลาที่เข้านอนจนหลับ ระยะการนอนหลับ NREM ช่วงที่ 3 และระยะการนอนหลับ REM Sleepไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมแต่มีแนวโน้มดีขึ้นกว่าและใกล้เคียงค่าปกติมากยิ่งขึ้น สรุปได้ว่า โปรแกรมนวดผสมผสานที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับชนิดปฐมภูมิ ให้มีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นและลดความเครียดลงได้
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subjectอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
dc.subjectการบำบัดด้วยการนวด
dc.subjectการนวด
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมนวดผสมผสานการนวดไทยแบบราชสำนักกับการกดจุดแบบจีนสำหรับผ่อนคลายความเครียดและเพิ่มคุณภาพการนอนหลับในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับชนิดปฐมภูมิ
dc.title.alternativeDevelopment of mixed mssge progrm by integrting the royl thi nd chinese cupressure techniques for relieving stress nd incresing the sleep qulity of people with primry insomni
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeSleep is important for humans. If there is insufficient sleep, it can affect many diseases. The purposes of this research were 1) to develop a massage program mixing the royal Thai massage with Chinese acupressure techniques, 2) to study the effects of massage programs by comparing relaxation and sleep quality between the group receiving the massage with a control group. The sample consisted of 40 volunteers with primary Insomnia aged 15-60 years. Twenty participants were randomly and equally assigned to the experimental and control group. The instruments were the mixed massage program, Sleep Measurement, Sleep Quality Assessment and Suanprung Stress Test. Data were analyzed by using t-tests and correlation coefficients. The results were as follows. 1) The mixed massage program consisted of 11 lines of massage for 55 minutes, 16 points of massage for 15 minutes and 7 points of Chinese massage for 20 minutes. Total time was 90 minutes. There were three levels of weights: 50 pounds, 70 pounds, and 90 pounds. 2. The stress after the massage, the comparison within the experimental group found that the stress was better than before the massage (p<.01) and better than the control group (p<.01). 3) The sleep quality after the massage, the comparison within the experimental group found that the sleep quality, the sleep efficiency, the total sleep time and the sleep latency of the experimental group were all better than before the massage (p<.01) and the sleep quality, the sleep efficiency and the total sleep time in the experimental group were better than the control group (p<.01) 4) After the massage, NREM sleep 3rd range and REM sleep were not significantly different within the experimental and the sleep latency, NREM sleep 3rd range and REM sleep in the experimental group were not significantly different with the control group. However, the trend was to be better and closer to normal values. It was concluded that the mixed massage program can be used to promote sleep quality in people with primary insomnia, to improve sleep quality, and to reduce stress.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น