กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8003
ชื่อเรื่อง: | การเพิ่มความใส่ใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้โปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural beats : การศึกษาศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Enhncing the ttention of secondry school students using binurl bets music progrm: n event-relted potentil study |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปริญญา เรืองทิพย์ สุชาดา กรเพชรปาณี ศศิวิมล พราหมณี มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา ความตั้งใจ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | Binaural Beats เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่ที่แตกต่างกันถูกนำเข้าทางหูแต่ละข้างพร้อมกัน ทำให้คลื่นประสานกันเป็นคลื่นความถี่ใหม่ในสมอง ซึ่งช่วยแก้ไขหรือพัฒนาคลื่นสมองให้มีความสมดุลเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats สำหรับเพิ่มความใส่ใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาผลของโปรแกรม โดยวิธีการวัดด้านพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง N100 ที่บริเวณสมองส่วนกลาง และ P100 ที่บริเวณสมองส่วนท้ายทอย ขณะทำกิจกรรมทดสอบความใส่ใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเมืองพัทยา 11 จำนวน 60 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน ได้แก่ กลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats กลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่ไม่ได้แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรม ฟังดนตรี เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย กิจกรรมทดสอบความใส่ใจ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง NeuroScan วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเพลงบรรเลงที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats ที่มีความถี่นำเข้าหูซ้ายและขวา ต่างกัน 10 Hz (100 Hz, 110 Hz) ใช้ระยะเวลาฟังครั้งละ 20 นาที ต่อเนื่องกัน 14 วัน 2. ผลการวัดด้านพฤติกรรมระยะหลังการทดลอง ทั้ง 3 กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยคะแนนความใส่ใจ ไม่แตกต่างกัน แต่มีเวลาปฏิกิริยาแตกต่างกัน กลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats มีเวลาปฏิกิริยาน้อยกว่า กลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่ไม่ได้แทรกสอดคลื่นเสียงและกลุ่มควบคุม (p < .05) 3. ผลการวัดด้านคลื่นไฟฟ้าสมองระยะหลังการทดลอง พบความแตกต่างบริเวณเปลือก สมองส่วนกลางและส่วนท้ายทอย (p < .05) โดยกลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats มีความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง N100 และ P100 มากกว่า และความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง N100 และ P100 น้อยกว่า กลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่ไม่ได้แทรกสอดคลื่นเสียงและกลุ่มควบคุม แสดงให้เห็นว่า การได้รับโปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats สามารถเพิ่มความใส่ใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ดีกว่าการรับฟังดนตรีที่ ไม่แทรกสอดคลื่นเสียงและดีกว่ากลุ่มควบคุม |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8003 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น