กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8003
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปริญญา เรืองทิพย์ | |
dc.contributor.advisor | สุชาดา กรเพชรปาณี | |
dc.contributor.author | ศศิวิมล พราหมณี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:43:35Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:43:35Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8003 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | Binaural Beats เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่ที่แตกต่างกันถูกนำเข้าทางหูแต่ละข้างพร้อมกัน ทำให้คลื่นประสานกันเป็นคลื่นความถี่ใหม่ในสมอง ซึ่งช่วยแก้ไขหรือพัฒนาคลื่นสมองให้มีความสมดุลเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats สำหรับเพิ่มความใส่ใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาผลของโปรแกรม โดยวิธีการวัดด้านพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง N100 ที่บริเวณสมองส่วนกลาง และ P100 ที่บริเวณสมองส่วนท้ายทอย ขณะทำกิจกรรมทดสอบความใส่ใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเมืองพัทยา 11 จำนวน 60 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน ได้แก่ กลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats กลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่ไม่ได้แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรม ฟังดนตรี เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย กิจกรรมทดสอบความใส่ใจ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง NeuroScan วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเพลงบรรเลงที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats ที่มีความถี่นำเข้าหูซ้ายและขวา ต่างกัน 10 Hz (100 Hz, 110 Hz) ใช้ระยะเวลาฟังครั้งละ 20 นาที ต่อเนื่องกัน 14 วัน 2. ผลการวัดด้านพฤติกรรมระยะหลังการทดลอง ทั้ง 3 กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยคะแนนความใส่ใจ ไม่แตกต่างกัน แต่มีเวลาปฏิกิริยาแตกต่างกัน กลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats มีเวลาปฏิกิริยาน้อยกว่า กลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่ไม่ได้แทรกสอดคลื่นเสียงและกลุ่มควบคุม (p < .05) 3. ผลการวัดด้านคลื่นไฟฟ้าสมองระยะหลังการทดลอง พบความแตกต่างบริเวณเปลือก สมองส่วนกลางและส่วนท้ายทอย (p < .05) โดยกลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats มีความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง N100 และ P100 มากกว่า และความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง N100 และ P100 น้อยกว่า กลุ่มรับโปรแกรมฟังดนตรีที่ไม่ได้แทรกสอดคลื่นเสียงและกลุ่มควบคุม แสดงให้เห็นว่า การได้รับโปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural Beats สามารถเพิ่มความใส่ใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ดีกว่าการรับฟังดนตรีที่ ไม่แทรกสอดคลื่นเสียงและดีกว่ากลุ่มควบคุม | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.subject | ความตั้งใจ | |
dc.title | การเพิ่มความใส่ใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้โปรแกรมฟังดนตรีที่แทรกสอดคลื่นเสียงแบบ Binaural beats : การศึกษาศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ | |
dc.title.alternative | Enhncing the ttention of secondry school students using binurl bets music progrm: n event-relted potentil study | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Binaural Beats are sound waves with different frequency applied to each ear together. Both waves synchronizing in the brain caused a new frequency helping to change and improve the brainwave balancing. The purpose of this research was to develop a binaural beats music training program for enhancing the attention of secondary school students. The data were collected by behavioral measurements, N100 central lobe area and P100 occipital lobe area ERPs, whilst performing attention tasks. The participants were 60 secondary school students from Pattaya City 11 School, randomly divided into three groups of 20 each: the Binaural Beats music program, a plain music program, and control group, received no program. Data were analyzed by descriptive statistics, t-test, and MANOVA. The results showed that: 1. The binaural beats music program involved 20 minutes of instrumental music from popular songs with difference frequencies at 10 Hz; inserted (100 Hz, 110 Hz) partcipants listened to the program for 14 consecutive days. 2. The behavioral evaluation revealed that, after experiment, there was no difference in the mean scores among the three groups. However, the binaural beats music program group had a faster reaction time when compared with the ordinary music program group and the control group (p < .05). 3. The ERP data revealed that there were differences in brainwaves at central and occipital sites (p < .05). Specifically, the binaural beats music program group had a higher amplitude and a lower latency of N100 and P100 ERPs than those of the ordinary music program and control groups. The results indicate that the binaural beats music program was beneficial, enhancing the attention of secondary school students. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น