กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7994
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบผลการเพิ่มความจำระยะสั้นในผู้สูงอายุระหว่างการฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องกับไม่มีเนื้อร้อง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comprison of the effects of enhncing short-term memory mong older dults by using thi country music with nd without lyrics
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา จันทะชิน
สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์
ลำดวน ขวัญขจร
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: เพลงไทย
ความจำ
ผู้สูงอายุ -- ความจำ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่พึงพอใจสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้ ส่งผลทำให้ความจำเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้องต่อความจำระยะสั้นของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุของตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จำนวน 54 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้อง จำนวน 20 คน กลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่ไม่มีเนื้อร้อง จำนวน 14 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังเพลง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการฟังเพลงไทยลูกทุ่ง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดสอบ Digit Span Task วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องมีค่าคะแนนความ ถูกต้องจากการทำกิจกรรมทดสอบความจำระยะสั้น สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่กลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่ไม่มีเนื้อร้องและกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังเพลง มีค่าคะแนนความถูกต้องจากการทำกิจกรรมทดสอบความจำระยะสั้น ระยะก่อนกับหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกัน 2) ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องมีค่าคะแนนความถูกต้องจากการทำกิจกรรมทดสอบความจำระยะสั้น สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังเพลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่กลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่ไม่มีเนื้อร้องมีค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องจากการทำกิจกรรมทดสอบความจำระยะสั้น ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังเพลง สรุปได้ว่า การฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องสามารถเพิ่มความจำระยะสั้นในผู้สูงอายุได้และอาจเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถช่วยป้องกันหรือชะลอการเสื่อมถอยของความจำในผู้สูงอายุ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7994
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น