กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7994
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุทธนา จันทะชิน | |
dc.contributor.advisor | สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์ | |
dc.contributor.author | ลำดวน ขวัญขจร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:25:37Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:25:37Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7994 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่พึงพอใจสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้ ส่งผลทำให้ความจำเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้องต่อความจำระยะสั้นของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุของตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จำนวน 54 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้อง จำนวน 20 คน กลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่ไม่มีเนื้อร้อง จำนวน 14 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังเพลง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการฟังเพลงไทยลูกทุ่ง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดสอบ Digit Span Task วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องมีค่าคะแนนความ ถูกต้องจากการทำกิจกรรมทดสอบความจำระยะสั้น สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่กลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่ไม่มีเนื้อร้องและกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังเพลง มีค่าคะแนนความถูกต้องจากการทำกิจกรรมทดสอบความจำระยะสั้น ระยะก่อนกับหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกัน 2) ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องมีค่าคะแนนความถูกต้องจากการทำกิจกรรมทดสอบความจำระยะสั้น สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังเพลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่กลุ่มที่ได้ฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่ไม่มีเนื้อร้องมีค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องจากการทำกิจกรรมทดสอบความจำระยะสั้น ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังเพลง สรุปได้ว่า การฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องสามารถเพิ่มความจำระยะสั้นในผู้สูงอายุได้และอาจเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถช่วยป้องกันหรือชะลอการเสื่อมถอยของความจำในผู้สูงอายุ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | เพลงไทย | |
dc.subject | ความจำ | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ความจำ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.title | การเปรียบเทียบผลการเพิ่มความจำระยะสั้นในผู้สูงอายุระหว่างการฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องกับไม่มีเนื้อร้อง | |
dc.title.alternative | A comprison of the effects of enhncing short-term memory mong older dults by using thi country music with nd without lyrics | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Listening to pleasant Thai country music can enhance brain functions and lead to memory enhancement. The objective of this research was to investigate the effect of listening to Thai country music between with and without lyrics on short-term memory of older adults. The participants were fifty-four older adults from the senior citizens club, Ban Na subdistrict, Ban Na district, Nakhon Nayok province. They were divided into Thai country music with lyrics group, Thai country music without lyrics group, and a control group who received no listening material. The research instruments were Thai country music program and a digit span task. t-test and one-way ANOVA were used to analyze the data. The results showed that: 1) After experiment, the Thai country music with lyrics group exhibited a significant increase in correct scores on short-term memory test when compared to the before-experiment condition (p < .01) whereas the Thai country music without lyrics and the control groups did not show any change in correct scores on short term memory test. 2) After experiment, the Thai country music with lyrics group exhibited a significant increase in correct scores on short-term memory test when compared to those of the control group (p < .05), whereas the correct scores of the Thai country music without lyrics group did not differ to those of the control group. In conclusion, Thai country music with lyric listening can enhance short-term memory in older adults and it may be an approach to prevent or delay a decline in memory in older adults. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น