กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7992
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภัทราวดี มากมี
dc.contributor.advisorพีร วงศ์อุปราช
dc.contributor.authorวชิรา แสนโกศิก
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:25:36Z
dc.date.available2023-05-12T06:25:36Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7992
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเองสำหรับเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) สร้างแบบวัดเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง และ 3) ศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเอง โดยการเปรียบเทียบคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักตนเองจากแบบวัดกระดาษดินสอ และค่าเฉลี่ยความถูกต้องและระยะเวลาตอบสนองจากแบบวัดด้วยคอมพิวเตอร์ ระหว่างก่อนกับหลังการใช้แอปพลิเคชัน และทดสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับเชาวน์ปัญญาทั่วไปหลังการใช้แอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเอง 2) แบบวัดเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองกระดาษดินสอและคอมพิวเตอร์ 3) เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดพกพา Emotiv Epoc+ จำนวน 14 อิเล็กโทรด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) แอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเองเป็น Desktop Application บนจอคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 6 กิจกรรม มีความเหมาะสมในการเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองระดับมากที่สุด 2) แบบวัดเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองกระดาษดินสอ มีค่าความเที่ยงและแบบวัดด้วยคอมพิวเตอร์มีความตรงเชิงเนื้อหาในระดับสูง 3) ผลการใช้แอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเอง วัดด้วยแบบวัดกระดาษดินสอ แบบวัดคอมพิวเตอร์ และเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง พบว่าคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 โดยพบความแตกต่างระหว่างเพศต่อคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองด้วยแบบวัดกระดาษดินสอ และระหว่างกลุ่มเชาวน์ปัญญาทั่วไปสูงกับเชาวน์ปัญญาทั่วไปต่ำต่อคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง ด้วยแบบวัดคอมพิวเตอร์ และค่าพลังงานสัมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองของกลุ่มตัวอย่าง มีช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมอง Theta, Alpha และ Lower Beta หลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองที่ตำแหน่ง AF3 F7 F3 FC5 FC6 F4 F8 AF4 P7 P8 T7 และ T8 และปรากฏผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับเชาวน์ปัญญาทั่วไป พบทั้งจากแบบวัดกระดาษดินสอ แบบวัดคอมพิวเตอร์ และคลื่นไฟฟ้าสมอง สรุปได้ว่า แอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเองสามารถเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาได้
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectเชาวน์ -- การทดสอบ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subjectเชาวน์
dc.titleการเพิ่มเชาว์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยแอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเอง : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง
dc.title.alternativeEnhncing intrpersonl intelligence mong primry school students using n intrpersonl trining ppliction: behviorl nd eeg study
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to develop an intrapersonal training application for enhancing intrapersonal intelligence among primary school students; 2) to develop intrapersonal intelligence test; and 3) investigate the effect of the developed intrapersonal training application by comparing the different score of Intrapersonal Intelligence between pre-and-posttest within experimental groups between groups on sex and general intelligence, by comparing the response accuracy score and response time on intrapersonal intelligence test, and by comparing absolute EEG power while doing intrapersonal intelligence test before and after using training application. The eighty primary students were recruited and divided into four groups. The study was a Factorial design. The instrument consisted of 1) the intrapersonal training application, 2) the paper-pencil Intrapersonal intelligence and computerized Intrapersonal intelligence test, and 3) Portable EEG Emotiv Epoc+ with 14 electrodes. Data were analyzed using mean, standard deviation, t-test and two-way ANOVA. The results demonstrated that 1) The intrapersonal training application composed of six activities 2) There were two types of the paper-and-pencil and computerized intrapersonal intelligence tests. The results of using the intrapersonal training application being measured from a paper-and-pencil and computerized intrapersonal intelligence tests found that intelligence scores after the experiment were higher than before the experiment (p<.05). There were significantly differences between gender on the interpersonal intelligence score (paper-and-pencil based test) and between high and low general intelligence on the interpersonal intelligence score (computerized based test). In addition, the absolute EEG power of the participants were higher than before the experiment at the AF3 F7 F3 FC5 FC6 F4 AF4 P7 P8 T7 and T8 electrode site. There was an interaction effect between sex and general intelligence on the interpersonal intelligence score for both paper-and-pencil and computerized based tests and the absolute EEG powers. In conclusion, the intrapersonal training application could enhance the intrapersonal intelligence of primary school students.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf10 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น