กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7990
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบผลการเพิ่มความจำขณะคิดในผู้สูงอายุระหว่างการฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องที่พึงพอใจกับเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effectiveness of listening to plesnt thi country music compred to plesnt thi clssicl music for enhncing working memory in older dults: n electroencephlogrm study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา จันทะชิน
สุชาดา กรเพชรปาณี
คมพล พันธ์ยาง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
ความจำในผู้สูงอายุ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การฟังเพลงที่พึงพอใจสามารถเพิ่มกระบวนการทำงานของสมองได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฟังเพลงที่พึงพอใจ และศึกษาผลของโปรแกรมฟังเพลงที่พัฒนาขึ้นต่อความจำขณะคิดในผู้สูงอายุและการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองขณะทำกิจกรรมทดสอบความจำขณะคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลตราด จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 20 คน (กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้อง ที่พึงพอใจ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมฟังเพลง) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องที่พึงพอใจ โปรแกรมเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจ โปรแกรมคอมพิวเตอร์วัดความจำขณะคิด และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองระบบ NeuroScan วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้ โปรแกรมฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องที่พึงพอใจประกอบด้วยเพลง จำนวน 6 เพลง ความยาวรวม 25 นาที และโปรแกรมเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจประกอบด้วยเพลง จำนวน 6 เพลง ความยาวรวม 25 นาที ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องที่พึงพอใจและกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความจำขณะคิดเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระยะหลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยลูกทุ่งที่มีเนื้อร้องที่พึงพอใจและกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฟังเพลงไทยบรรเลงที่พึงพอใจมีเปอร์เซ็นต์อีอาร์ดีของคลื่นอัลฟาระดับสูง ไม่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองกลุ่มมีเปอร์เซ็นต์อีอาร์ดีของคลื่นอัลฟาระดับสูง สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมฟังเพลง ที่ตำแหน่งขั้วไฟฟ้า F3 C3 P3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเปอร์เซ็นต์อีอาร์เอสของคลื่นเธต้าสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมฟังเพลง ที่ตำแหน่งขั้วไฟฟ้า FP1 FP2 F7 F3 FZ F4 C3 CZ P3 PZ และ O1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7990
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น