กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7989
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Enhncing sptil perception nd ttention in erly childhood eduction using physicl ctivity
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กนก พานทอง
เยาวรัตน์ รัตนธรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: การศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
มิติสัมพันธ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และพัฒนาโปรแกรมแบบทดสอบความใส่ใจสำหรับนักเรียนปฐมวัย และนำแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นไปใช้โดยพิจารณาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และคะแนนความใส่ใจระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านเขาตะกรุบพัฒนา จำนวน 90 คน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) และกิจกรรมเต้น (Dance) 2) เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรตาม ได้แก่ แบบทดสอบการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และโปรแกรมแบบทดสอบความใส่ใจสำหรับนักเรียนปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนปฐมวัย หลังใช้กิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัย หลังใช้กิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนปฐมวัย หลังใช้กิจกรรมเต้น (Dance) สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ค่าเฉลี่ยคะแนนความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมเต้น (Dance) สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยในกลุ่มทดลองหลังใช้กิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) และกิจกรรมเต้น (Dance) และกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมตามปกติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายด้วยกิจกรรมโอเรียนเทียริง (Orienteering) สามารถเพิ่มการรับรู้มิติสัมพันธ์ และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยได้มากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7989
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น