กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7983
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบผลของการมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ต่อความรู้สึกระหว่างนักเรียนปกติกับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comprison of looking t emotionl pictures on emotion between students with nd without lerning disbilities |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปริญญา เรืองทิพย์ ปรัชญา แก้วแก่น วราลักษณ์ ดลประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | อารมณ์ ความรู้สึก มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา Humanities and Social Sciences |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของนักเรียนจำแนกตามเพศขณะมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ความรู้สึก เพื่อเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของนักเรียนระหว่างนักเรียนปกติกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ขณะมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ความรู้สึก และเพื่อทดสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับความสามารถในการเรียนรู้ต่ออารมณ์ความรู้สึกของนักเรียนขณะมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ความรู้สึกด้านความประทับใจ ด้านการตื่นตัว และด้านการมีอิทธิพล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ปีการศึกษา 2561จำนวน 120 คน (นักเรียนปกติ 60 คน นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 60 คน) ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ 1) แบบคัดกรองกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (มัธยมศึกษา) 2) ชุดของรูปภาพที่สื่อความหมายทางด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทคนไทย และ 3) มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก SAM Thai วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1. นักเรียนจำแนกตามเพศปรากฏว่า ในอารมณ์ความรู้สึกด้านความประทับใจ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการตื่นตัวและด้านการมีอิทธิพล ไม่แตกต่างกัน 2. นักเรียนจำแนกตามกลุ่มความสามารถในการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนปกติกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ปรากฏว่า อารมณ์ความรู้สึกด้านความประทับใจ ด้านการตื่นตัว และด้านการมีอิทธิพล มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับกลุ่มความสามารถในการเรียนรู้พบว่าด้านความประทับใจ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการตื่นตัว และด้านการมีอิทธิพลไม่มีความแตกต่างกัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7983 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 5.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น