กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7965
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ร่วมกับโปรแกรม GSP
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study on mthemtics lerning chievement on geometric trnsformtion for grde 9 students by student tem chievement division with the geometer’s sketchpd progrm (gsp)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รักพร ดอกจันทร์
ภาวดี วงศ์ดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Science and Technology
เรขาคณิต -- การศึกษาเเละการสอน (มัธยมศึกษา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับโปรแกรม GSP กับเกณฑ์ร้อยละ 60 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ในการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ขณะที่เรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์จังหวัดสมุทรสาคร โดยให้สมัครใจมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับโปรแกรม GSP แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ดัชนี ประสิทธิผลและการทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับโปรแกรม GSP สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแปลงทางเรขาคณิตมีค่าเท่ากับ 0.6101 และ 3) ความพึงพอใจ ของนักเรียนส่วนใหญ่ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์อยู่ในระดับมากขึ้นไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์(วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7965
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น