กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7963
ชื่อเรื่อง: | ผลกระทบของคุณภาพน้ำและดินตะกอนต่อการเปลี่ยนแปลงสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of wter qulity nd sediment for vrition of benthosin the trt by, trt province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา วิชญา กันบัว ชุติมณฑน์ ภู่นภาอำพร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ดินตะกอน -- การวิเคราะห์ คุณภาพดิน ชีววิทยาทางทะเล Science and Technology คุณภาพน้ำ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของคุณภาพน้ำ และดินตะกอนต่อการ เปลี่ยนแปลงสัตว์ทะเลหน้าดินในบริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด โดยจะทำการเก็บตัวอย่างเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (มีนาคม) ฤดูฝน (กรกฎาคม) และฤดูปลายฝน (กันยายน) ปี พ.ศ. 2560 ทั้งหมด 15 สถานี ซึ่งจะทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำ (อุณหภูมิความเป็นกรด-ด่าง ความเค็ม ออกซิเจนละลายน้ำ คลอโรฟิลล์-เอและของแข็งแขวนลอยรวม) และคุณภาพดินตะกอน (น้ำในดินตะกอน สารอินทรีย์ รวม และซัลไฟด์รวม) รวมถึงศึกษาความหนาแน่น และความหลากหลายของสัตว์ทะเลหน้าดินใน บริเวณอ่าวตราด และนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติ ผลการศึกษาคุณภาพน้ำ พบว่า อุณหภูมิมีค่าอยู่ในช่วง 28.4-32.7 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่างมีค่าอยู่ในช่วง 6.8- 8.9ความเค็มมีค่าอยู่ในช่วง 0.1-31.2 psu ออกซิเจนละลายน้ำ มีค่าอยู่ในช่วง 5.1-9.8 มิลลิกรัมต่อลิตรคลอโรฟิลล์-เอ มีค่าอยู่ในช่วง 0.8- 38.3 ไมโครกรัมต่อลิตรและปริมาณของแข็งแขวนลอยรวมในน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 11.0-97.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับคุณภาพดินตะกอนพบว่า ปริมาณน้ำในดินตะกอนมีค่าอยู่ในช่วง 24.2-79.6 เปอร์เซ็นต์ สารอินทรีย์รวมในดินตะกอนมีค่าอยู่ในช่วง 1.6-25.0 เปอร์เซ็นต์และซัลไฟด์รวมในดินตะกอนมีค่าอยู่ในช่วง nd-0.479 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้งของดินตะกอนในส่วนของสัตว์ทะเลหน้าดิน พบทั้งหมด 74 ชนิด โดยจำแนกเป็น 4 Phylum (Mollusca 35 ชนิด, Annelida 26 ชนิด, Arthropoda 12 ชนิด และ Echinodermata 1 ชนิด) พบความหนาแน่นรวมของสัตว์พื้นท้องน้ำอยู่ในช่วง 16- 10,352 ตัวต่อตารางเมตร พบดัชนีความมากชนิด และความหลากหลายสูงสุดในฤดูแล้ง โดยมีค่าเท่ากับ 2.65 และ 2.75 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ทะเลหน้าดินกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำ พบว่า Triphoridae มีความสัมพันธ์กับสารอินทรีย์ในดินตะกอน (p< 0.05) Solariellidae มีความสัมพันธ์กับซัลไฟด์รวมในดินตะกอน (p< 0.05) Aoridaeและ Melitidae มีความสัมพันธ์กับความเค็มของน้ำ (p< 0.05) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7963 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 6.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น