กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7959
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โอฬาร ถิ่นบางเตียว | |
dc.contributor.author | ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:15:00Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:15:00Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7959 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1. โครงสร้างอํานาจรัฐที่มีผลต่อโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี 2.กระบวนการสะสมทุนที่มีผลต่อโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรีและ 3. อุดมการณ์ที่มีผลต่อโครงสร้างอํานาจท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบุรีด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และการสังเกตในพื้นที่ แล้วนําข้อมูลมาประมวล จัดระบบ และวิเคราะห์ และนําเสนอโดยพรรณนาวิเคราะห์จากการศึกษาพบว่า 1. โครงสร้างอํานาจรัฐมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นในแต่ละยุคสมัยดังนี้ 1. ระหว่าง พ.ศ. 2398-2475 นโยบายการรวมศูนย์อํานาจ (Centralization) ของรัฐส่วนกลาง ทําให้อํานาจด้านเศรษฐกิจและการปกครองของกลุ่มสกุล บุนนาคลดลง 2. ระหว่าง พ.ศ. 2475-2521 บทบาทของรัฐส่วนกลางก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอํานาจท้องถิ่น ได้แก่ 1. รัฐราชการรูปแบบใหม่ทําให้ระบบราชการเข้มแข็งผูกขาดอํานาจ และมีบทบาทนําในโครงสร้างอํานาจท้องถิ่น 2. การแบ่งส่วนราชการเป็น 3 ส่วน ทําให้การปกครองอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลและข้าราชการประจําชนชั้นนําท้องถิ่นต้องปรับตัวสร้างความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์กับข้าราชการทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และ 3. มีการใช้ระบบเลือกตั้ง เพื่อสร้างความชอบธรรม แต่อยู่ภายใต้การควบคุมและครอบงําของชนชั้นนําทหาร 3. ตั้งแต่ พ.ศ. 2521-2557 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 ทําให้การเลือกตั้ง เป็นระบบและเป็นรากฐานของประชาธิปไตยท้องถิ่น แต่นักการเมือง นักธุรกิจ และทหารก็ปรับตัวเข้าสู่ระบบเลือกตั้งจนเกิดสภาพ ธุรกิจการเมืองที่อุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ทําให้ขั้วอํานาจหลักให้ความสําคัญที่การเมืองท้องถิ่น มีการสร้างเครือข่ายในระบบอุปถัมภ์ระหว่างนักการเมืองท้องถิ่น มีความพยายามสถาปนาโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นขึ้นในกลุ่มตระกูล นักการเมือง และมีการแบ่งพื้นที่ (Zoning) ของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น 2. กระบวนการสะสมทุนของชนชั้นนําในจังหวัดเพชรบุรีมีความแตกต่างกัน ดังนี้ 1. ระหว่าง พ.ศ. 2398-2475 กระบวนการสะสมทุนสัมพันธ์กับอํานาจรัฐ มีผลประโยชน์จากระบบกินเมือง รายได้หลักมาจากภาษี การค้าในภาคเกษตรและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 2. ระหว่าง พ.ศ. 2475-2521 ชนชั้นนําทําการค้าหลายประเภท การลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ และธุรกิจผิดกฎหมาย เครื่องมือในการดูแลธุรกิจคือนักเลง และร่วมทุนกับผู้มีอํานาจในรัฐบาล และ 3. ตั้งแต่ พ.ศ. 2521-2557 ชนชั้นนํา ทําธุรกิจทั้งสีขาว สีเทา และสีดํา มีนักเลงและมือปืนช่วยดูแลธุรกิจ มีการแสวงค่าเช่าทางเศรษฐกิจโดยใช้ตําแหน่งหน้าที่ 3. อุดมการณ์ของรัฐมีผลต่อพัฒนาการโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี ดังนี้ 1.ระหว่าง พ.ศ. 2398-2475 การสร้างรัฐสมัยใหม่มีบทบาทนําความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมเมืองเพชรบุรี โดยพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนางกลุ่มสกุลบุนนาค และมิชชันนารีอเมริกันทําให้เมืองเพชรบุรีพัฒนาทั้งทางกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจ 2. ระหว่าง พ.ศ. 2475-2521 อุดมการณ์ชาตินิยมที่มีแนวคิดต่อต้านและลดบทบาทคนจีน ทําให้นายทุนชาวจีนปรับตัวเป็นนายทุนจีนจิตใจไทย เพื่อการยอมรับจากพื้นที่ 3. ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ถึงปัจจุบัน อุดมการณ์เลือกตั้งนิยมมีบทบาทต่อคนทุกระดับในสังคมชนชั้นนําต้องการได้รับการเลือกตั้งเพื่อไปสู่การมีอํานาจอย่างเป็นทางการและสถาปนาเป็นโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | Humanities and Social Sciences | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ | |
dc.subject | อำนาจชุมชน | |
dc.subject | อำนาจ (สังคมศาสตร์) | |
dc.title | พัฒนาการโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี : วิเคราะห์แนวทางเศรษฐศาสตร์การเมือง | |
dc.title.alternative | Development of locl power structures in phetchburi: politicl economy nlysis | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are 1. the power structure of the state that affecting the local power structure in Phetchaburi 2. the capital accumulation process that affecting the local power structure in Phetchaburi; and 3. the ideology that affecting the local power structure in Phetchaburi. The qualitative research method was based on the relevant literature, interview, and observation. The data were processed, analyzed, and presented by descriptive analysis. The research found that: 1. The power structure of the state has influenced on the dynamics of local power structures in each age: 1. During 1855-1932, the centralization policy of state caused the economic power and the dominance of the Bunnag family decreased. 2. During 1932-1978, the role of the central state brought about changes in the local power structure, namely: (1) Modern state led the bureaucratic system stronger, bureaucratic monopoly and had more power in local power structure (2) Due to bureaucratic system and government in control of the government and state officials, local elites needed to adapt their patronage relationship with both national and local government officials and (3) Electoral system had been used to create political legitimacy but still under the control and dominance of the military elite. 3. During 1978 to 2014, the 1978 Constitution made the election system clearer, politicians, businessmen, and military aimed to enter the electoral system. This led to political business situation in which all three parties patronized to each other. The 1997 constitution that the main power poles need to focused local politics ,built networks in patronage systems with local lower-level politicians and attempted to establish local power structures in the clan of politicians, and there was zoning of local political group. 2. The difference of capital accumulation processes of the local power structures in the Phetchaburi are 1. During 1855-1932, elites had a relationship with the central state power, got benefits of the Feudal system (kin muang) from taxes and trade in agriculture and invested in real estate. 2. During 1932-1978, elites had a variety of trade, investment in various businesses, and illegal business, a joint venture with government authorities. 3.From 1978 to 2014, elites had been doing business in all types - white, gray and black, by using gangsters and gunmen to take care of business, for security, and for rental opportunity seeking by using political positions. 3. The state’s ideology has influenced on the development of local power structures are 1. During 1855-1932, the creation of the modern state brought about the change. Elites, the monarch, the royal family, Bunnag family, and American missionaries, developed Phetchaburi city in physical, social and economic. 2. During 1932-1978, nationalist ideology which anti and reduce roles of Chinese caused Chinese capitalist elite had to adjust themselves for the acceptance in that area. 3.From 1978 to present, electionism ideology played a key role in all levels of society. Elites tried to be elected to a formal power and established a local power structure in Phetchaburi. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ | |
dc.degree.name | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น