กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7957
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมกฤติ อิสริยานนท์
dc.contributor.authorเกริกเกียรติ รสหอมภิวัฒน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:14:59Z
dc.date.available2023-05-12T06:14:59Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7957
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปัจจัยที่มีผลและแนวทางการสะสมทุนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจขนาดเล็กโดยผู้วิจัยใช้การวิจัยภาคสนามโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการสัมภาษณ์กลุ่มในพื้นที่ของผู้วิจัยรวมถึงการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนําข้อมูลมาประมวลจัดระบบ และวิเคราะห์ เพื่อนําเสนอโดยพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสะสมทุนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจขนาดเล็กเริ่มจากเดิมที่ดําเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อะไหล่เครื่องจักรกล และแปรรูปโลหะป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตมาอยู่ในประเทศไทยแต่ต้องประสบกับกระแสทุนนิยมโลกจนต้องกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนทําให้ประสบปัญหาจึงตัดสินใจขายเฉพาะตัว โรงงาน โดยเป็นการเช่าโรงงานแทนหลังจากที่สามารถชําระหนี้ได้หมด จึงระดมสมองจากพนักงานกําหนดกลยุทธ์ธุรกิจด้วย แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างองค์กรให้เกิดความมั่นคง ผลที่สืบเนื่องจากการดําเนินธุรกิจโดยใช้แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ทําให้บริษัทมีกําไรสะสมเพิ่มขึ้นทุกปี สามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้านบาท เป็น 22 ล้านบาทโดยปี พ.ศ.2558 และได้สร้างโรงงานแห่งใหม่บนที่ดินของตนเองจํานวน 12 ไร่ ทําให้องค์กรมีกําไรสามารถดําเนินธุรกิจให้อยู่ได้ในระยะยาว ปัจจัยที่มีผลสําเร็จต่อการสะสมทุนแบบพอเพียงของวิสาหกิจขนาดเล็ก ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ ปัจจัย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ได้แก่ การพึ่งตนเองขององค์กร การสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยง รวมถึงองค์ความรู้คู่คุณธรรม ที่ยึดหลักความไม่ประมาทในการทํางาน การละทิ้งอุปาทาน 4 คือ การไม่ยึดมั่นในตัวตน การตัดสินใจลงทุนอยู่บนพื้นฐานของการมีความรู้ที่ตนเองถนัด รวมถึงการร่วมกําจัดคอร์รัปชั่นการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีบทบาทในการมีส่วนร่วมเชิงสมานฉันท์ที่มีผลต่อการสะสมทุนอย่างยุติธรรม ปัจจัยด้านทฤษฎีนวัตกรรม 3 มิติได้แก่ นวัตกรรมการบริหารจัดการการ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่พอเพียงทางสายกลางและนวัตกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์ส่วนปัจจัยด้านทุนตามทฤษฎี Bourdied ได้แก่ ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ทุนทางด้านเศรษฐกิจ ทุนด้านวัฒนธรรม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการสะสมทุนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจขนาดเล็กสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ 10 ประการด้วยกันประกอบด้วยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ต้องคํานึงถึงสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์กรการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กร (Structure) การวางกลยุทธ์ขององค์กร (Strategy) การให้ความสําคัญของบุคลากร (Staff) การฝึกทักษะความรู้ (Skill) และระบบปฏิบัติการ (System) การพัฒนาชุดความคิด (Mindset) ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร การดําเนินการที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการสร้างนวัตกรรมขององค์กรโดยใช้ปัจจัยนวัตกรรม 3 มิติในการบริหารจัดการการสร้างสุขแก่องค์กรการบริการของวิสาหกิจขนาดเล็กการสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยงแก่องค์กร การติดตามผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัดผลทุนนิยมแบบพอเพียงการขยายผลต้นแบบทุนนิยมแบบพอเพียงไปสู่วิสาหกิจขนาด เล็กรายอื่น ๆ ให้ได้ผลต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectวิสาหกิจชุมชน
dc.subjectการระดมทุน
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียง
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.titleการสะสมทุนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจขนาดเล็ก
dc.title.alternativeA cpitl ccumultion with sufficiency economy philosophy of smll enterprises
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research has the objective to study the process of the factor affecting, and the guideline of a capital accumulation with sufficiency economy philosophy of small enterprises. The interview, the observation and the focus group in the field have been used by the researcher, and were verified by the expert. The data were analyzed, organized by the descriptive statistic The result of the research found that. The process of a capital accumulation with sufficiency economy philosophy of the small enterprises has started from the automobile spare part and the mechanic spare part business by processing the metal to the industrial factory which moved the producing base to Thailand, but faced to the capitalism problem and then loaned for the investment which caused to sell only the factory by changing to rental the factory instead after paying the whole debt. That was the reason of making the brain storming for setting the business strategy with the sufficiency economy philosophy for securing the organization by the officer. The continuous results from the business by using the sufficiency economy philosophy have been increasing the annually retained earnings. The company has the ability to increase the registered capital from 1 million baht to 22 million baht in 2015, and constructed the new factory on their own 12 Rai which make the organization have the profit for the business in the long run. Factor affecting to a capital accumulation with sufficiency economy philosophy of the small enterprises which consisted of the three main factors are three circles and two conditions as following: The self-help of the organization, creating the immune for preventing the risk including the knowledge with moral which strict with the precaution in work. Abandoning the attachment 4 is the non-attaching in your mind. Making decision in term of the investment should be on your knowledge base, and also helping each other to eliminate the corruption in the risk management through the organization. The stakeholder factor found that every stakeholder group has their roles in the restorative participation which affecting to a capital accumulation with fairness. The three innovative theory dimension factor as follow: The innovative management, the innovative sufficient technology that is in the middle path and the innovative in the human resource. The funding factor follows Bourdied theory as follows: The society capital, the human capital, the economic capital, the cultural capital and the natural resource capital and the environment. The guideline of a capital accumulation with sufficiency economy philosophy of the small enterprises can adapt 10 features which are consisted of the strategy planning that need to aware of the organization’s interior and exterior environment. The strategy management needs to organize the organization structure, placing the organization’s strategy, Priority the staff, Training the skill and the system, developing the mindset in creating the organization’s culture. The operation that relates with sufficiency economy philosophy by creating the organization’s culture in using the innovative theory in three dimension in managing the happiness for the organization, the service of the small enterprise, creating the immune for preventing the organization’s risk, following up the operation by the sufficient capital indicator, expanding the prototype of the sufficient capital to other small enterprises for being the effectiveness in the future.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น