กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7943
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการดำเนินคดีริบทรัพย์ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Issues of confisction cse bymesure of forfeiture of ssets under ct on mesure for the suppression of offenders in n offence relting to nrcotics, b.e. 2534
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรัมภา ไวยมุกข์
ลาวัลย์ จันทร์เปล่ง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: กฎหมายยาเสพติด
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
Humanities and Social Sciences
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: รายงานการศึกษาปัญหาการทําคดีริบทรัพย์ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาของการยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งกฎหมายในประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนีเพื่อหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในขั้นตอนของการดําเนินการทําคดีตรวจสอบทรัพย์สิน จากการศึกษาพบว่าการดําเนินการริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ยังพบปัญหาอยู่ 2 กรณี (1) ตามมาตรา 27 ระยะเวลาในการทําคดีริบทรัพย์สิน ยังมีข้อจํากัดในเงื่อนระยะเวลาการทําคดีในขณะที่กฎหมายริบทรัพย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และกฎหมายริบทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาไม่จํากัดด้วยเงื่อนเวลาดังมาตรา 27 (2) ปัญหาความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการขอริบทรัพย์สินของจําเลยในการกระทําความครั้งอื่น ปัญหาการยกฟ้องคดีอาญา หรือพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องในคดีอาญา ทําให้คดีริบทรัพย์ยุติไปด้วยเป็นที่น่าเสียดาย เมื่อพบว่าทรัพย์สินที่ผู้ต้องหาถูกยึดมา มีจํานวนมาก มูลค่ามากแต่เกิดความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับพยานหลักฐานคดีอาญา ส่งผลให้คดีอาญาอาจถูกศาลยกฟ้อง พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องทั้ง ๆ ที่ผู้ต้องหาเองนั้น มีคดีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขอายุความและในทางสืบสวนยังมีพฤติการณ์ค่ายาเสพติดอยู่จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้เสนอแนะให้ปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้การดําเนินการริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักการและเจตนารมณ์ของกฎหมายเหมาะสมกับหลักการ สภาพการปฏิบัติงานที่แท้จริงในการตรวจสอบทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้วิจัยจึงเห็นควรเสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 เกี่ยวกับเรื่องอายุความตามมาตรา 27 และเพิ่มเติมให้มีบทบัญญัติมาตรา 32 ให้สามารถขอริบทรัพย์สินของผู้ถูกตรวจสอบทรัพย์สินสําหรับคดีความผิดครั้งอื่นได้
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7943
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น