กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7938
ชื่อเรื่อง: | ปัญหานิยามความรุนแรงในครอบครัวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ศึกษากรณีความรุนแรงทางการเงิน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems concerning definition of domestic violence under domestic violence victims protection ct b.e. 2550: study of finncil buse |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรรัมภา ไวยมุกข์ เสาวลักษณ์ ทองลอย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา Humanities and Social Sciences ความรุนแรงในครอบครัว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย ความรุนแรงในครอบครัว |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | จากสภาพความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่เสมอภาคทางเพศระหว่างชายหญิง จึงนํามาซึ่งปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีความรุนแรงทางการเงิน หมายถึง การทำร้าายบุคคลหนึ่งด้วยความรุนแรงหรือความมีอํานาจในการควบคุมโดยไปคุกคามอีกฝ่ายที่ต้องพึ่งพิงโดยมีปัจจัยทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง กล่าวคือเป็นการใช้ทรัพย์สินเงินทองและของมีค่าเป็นเครื่องมือหรือตัวกระทําความรุนแรงใส่อีกบุคคลหนึ่ง เช่น การกีดกันไม่ให้ภรรยามีโอกาสทํางานนอกบ้านให้เลิกทํางาน สามีเป็นคนจัดการค้าใช้จ่ายเองทั้งหมด ทําให้ภรรยารู้สึกว่าต้องพึ่งพาสามี เรื่องเงิน เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าเป็นการกระทําที่เกิดจากผู้มีอํานาจเหนือกว่าในครอบครัวใช้อํานาจที่เหนือกว่าบีบบังคับผู้ที่ด้อยกว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน เป็นการตอกย้ำถึงทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของคนในสังคมเรื่องชายเป็นใหญ่ ซึ่งถือเป็นความรุนแรงในครอบครัวประการหนึ่งและเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างอื่นตามมาจากนิยามคําว่า “ความรุนแรงในครอบครัว” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ยังขาดความเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันและไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่รับรองและคุ้มครองสิทธิสตรี ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดคุ้มครองผู้ถูกกระทําในลักษณะนี้ จึงเกิดปัญหาช่องว่างของกฎหมาย สําหรับการคุ้มครองผู้ถูกกระทํา ผู้วิจัยเห็นว่ารัฐควรเข้ามาให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือแก่ผู้ถูกกระทําความรุนแรงทางการเงิน โดยการเพิ่มเติมขอบเขตนิยามคําว่า “ความรุนแรงใน ครอบครัว” ให้ครอบคลุมถึงความรุนแรงทางการเงินในลักษณะเดียวกันกับกฎหมายประเทศอังกฤษและอินเดีย |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7938 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น