กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7930
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A legl problem of crimes victim support nd ssistnce concerning compenstion nd support for the ccused in ccordnce to the criminl cse ct b.e. 2544
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชนี แตงอ่อน
ณัฐภัสสร ธัญวัฒน์สวัสดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
คดีอาญา
คดีอาญา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Humanities and Social Sciences
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: หลักการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจําเลยในคดีอาญาได้กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพื่อรองรับสิทธิในการได้รับการช่วยเหลือจากรัฐของบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดนั้น และไม่มีโอกาสได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น รวมทั้งการรับรองสิทธิในการได้รับค่าทดแทนในกรณีของบุคคลซึ่งตกเป็นจําเลยในคดีอาญา และถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีหากปรากฏตามคําพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจําเลย มิได้เป็นผู้กระทําความผิดหรือการกระทําของจําเลยไม่เป็นความผิด รัฐจึงได้ตราพระราชบัญญัติค่าตอบแทน ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ขึ้นโดยสาระสําคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือจ่ายเงินเยียวยาผู้เสียหายและจําเลย ในกรณีผู้เสียหายต้องได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทําความผิดอาญาของบุคคลอื่น โดยตนมิได้เกี่ยวข้องในการกระทําความผิดนั้น กรณีผู้บริสุทธิ์ต้อง ตกเป็นจําเลยที่ถูกดําเนินคดีโดยพนักงานอัยการและถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดีต่อมาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าผู้ที่ถูกกล่าวหามิได้เป็นผู้กระทําความผิดและมีการถอนฟ้องในระหว่างดําเนินคดี หรือปรากฏตามคําพิพากษาอัน ถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่ามิได้เป็นผู้กระทําความผิดหรือการกระทํานั้นไม่เป็นความผิด โดยมีความจําเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานมาช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลกฎหมายพบประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ได้ 3 กรณี1. กรณีมีการฟ้องคดีอาญาโดยราษฎรเป็นโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 (2) ต่อมาศาล ได้พิจารณาพิพากษาว่าจําเลยไม่ได้กระทําความผิด พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่คุ้มครอง 2. กรณีที่ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จําเลย จึงไม่อาจได้รับการเยียวยาจ่ายค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนฯ มาตรา20 (3) 3. กรณีตกเป็นผู้ต้องหา ภายหลังพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องในระหว่างนั้นผู้ต้องหามิได้รับการประกันตัวหรือได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตามพระราชบัญญัติ ค่าตอบแทนฯ มาตรา 20 ก็มิได้มีบทบัญญัติที่กล่าวถึงส่วนนี้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้ประกาศใช้และปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวในปีพ.ศ. 2559 แต่ก็ยังมีในบางมาตราที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ผู้วิจัยจึงเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ผู้ต้องหาและจําเลยที่ได้รับความเสียหายได้รับสิทธิการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติด้วยการแก้ไขมาตรา 20 (1) ให้เพิ่มเติมสิทธิแก่จําเลยที่ราษฎรนําคดีอาญามาฟ้องต่อศาลด้วย, แก้ไขมาตรา 20 (3) ให้เพิ่มข้อความ “หากจําเลยพ้นผิดหรือถูกยกฟ้อง ไม่ว่ากรณีใด”และให้แก้เพิ่มสิทธิแก่ผู้ต้องหาที่ได้รับความเสียหายให้สามารถมีสิทธิที่จะยื่นคําร้องได้ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แล้วจึงให้รัฐใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากลับผู้กระทําให้เกิดความเสียหายขึ้นต่อไปได้
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7930
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf722.58 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น