กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7921
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of the pedgogy competency ofstudent techers |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พงศ์เทพ จิระโร วิชิต สุรัตน์เรืองชัย ศกลวรรณ พาเรือง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การจัดการเรียนการสอน การศึกษาขั้นอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสมรรถนะการจัดการเรียน การสอนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ 2) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสมรรถนะด้าน การจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา 3) สร้างแบบวัดสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา 4) ประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา และ 5) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนานักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ให้มีระดับมาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ จำนวน 17 ท่าน 2) นักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ 3 ประเภทสถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ และมหาวิทยาลัยราชภัฎ จำนวน 400 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนานักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ให้มีระดับมาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ จำนวน 12 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบวัดสมรรถนะตามการรับรู้ของตนเอง และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในบริบทต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (IQR) ค่า t-test One-way ANOVA และ Scheffe’s test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’ s correlation coefficient) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ มีจำนวน 12 ด้าน 2) ตัวบ่งชี้ด้านการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ที่พัฒนาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ Bloom Taxonomy สามารถจำแนกสมรรถนะได้ 3 กลุ่ม 83 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย กลุ่มสมรรถนะระดับความรู้ หรือพุทธิพิสัย (Cognitive domain) จำนวน 19 ข้อ กลุ่มสมรรถนะระดับเจตคติ หรือจิตพิสัย (Affective domain) จำนวน 28 ข้อ และกลุ่มสมรรถนะระดับทักษะพิสัย (Psychomotor domain) จำนวน 36 ข้อ 3) แบบวัดสมรรถนะตามการรับรู้ของตนเอง (Self-report) ด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ สามารถจำแนกเป็นรายข้อ ตามรายสมรรถนะจำนวน 12 ด้าน รวม 83 ข้อ 4) ผลการวัดสมรรถนะ นักศึกษา ครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ พบว่า มีระดับสมรรถนะสูง และระดับกลาง นอกจากนี้ ประเภทสถาบันที่แตกต่างกัน มีผลต่อระดับสมรรถนะของนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ทั้ง 12 ด้าน และระดับกลุ่มสมรรถนะ 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และท้ายสุดสมรรถนะของนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ทั้ง 12 ด้าน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 ส่วนระดับสมรรถนะด้านการจัดการเรียน การสอนทั้ง 3 กลุ่ม มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 เช่นกัน และ 5) ข้อเสนอนโยบายในประเด็นหลัก 1) บริบทผู้เรียน 2) บริบทผู้สอน 3) บริบทสถาบันอุดมศึกษา 4) บริบทหน่วยงานระดับชาติ 5) บริบทระดับนานาชาติ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7921 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 6.89 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น