กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7921
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.advisorวิชิต สุรัตน์เรืองชัย
dc.contributor.authorศกลวรรณ พาเรือง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:14:53Z
dc.date.available2023-05-12T06:14:53Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7921
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสมรรถนะการจัดการเรียน การสอนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ 2) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของสมรรถนะด้าน การจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา 3) สร้างแบบวัดสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา 4) ประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา และ 5) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนานักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ให้มีระดับมาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ จำนวน 17 ท่าน 2) นักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ 3 ประเภทสถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ และมหาวิทยาลัยราชภัฎ จำนวน 400 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนานักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ให้มีระดับมาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ จำนวน 12 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบวัดสมรรถนะตามการรับรู้ของตนเอง และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในบริบทต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (IQR) ค่า t-test One-way ANOVA และ Scheffe’s test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’ s correlation coefficient) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ มีจำนวน 12 ด้าน 2) ตัวบ่งชี้ด้านการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ที่พัฒนาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ Bloom Taxonomy สามารถจำแนกสมรรถนะได้ 3 กลุ่ม 83 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย กลุ่มสมรรถนะระดับความรู้ หรือพุทธิพิสัย (Cognitive domain) จำนวน 19 ข้อ กลุ่มสมรรถนะระดับเจตคติ หรือจิตพิสัย (Affective domain) จำนวน 28 ข้อ และกลุ่มสมรรถนะระดับทักษะพิสัย (Psychomotor domain) จำนวน 36 ข้อ 3) แบบวัดสมรรถนะตามการรับรู้ของตนเอง (Self-report) ด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ สามารถจำแนกเป็นรายข้อ ตามรายสมรรถนะจำนวน 12 ด้าน รวม 83 ข้อ 4) ผลการวัดสมรรถนะ นักศึกษา ครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ พบว่า มีระดับสมรรถนะสูง และระดับกลาง นอกจากนี้ ประเภทสถาบันที่แตกต่างกัน มีผลต่อระดับสมรรถนะของนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ทั้ง 12 ด้าน และระดับกลุ่มสมรรถนะ 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และท้ายสุดสมรรถนะของนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ทั้ง 12 ด้าน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 ส่วนระดับสมรรถนะด้านการจัดการเรียน การสอนทั้ง 3 กลุ่ม มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 เช่นกัน และ 5) ข้อเสนอนโยบายในประเด็นหลัก 1) บริบทผู้เรียน 2) บริบทผู้สอน 3) บริบทสถาบันอุดมศึกษา 4) บริบทหน่วยงานระดับชาติ 5) บริบทระดับนานาชาติ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการจัดการเรียนการสอน
dc.subjectการศึกษาขั้นอุดมศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.titleการศึกษาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์
dc.title.alternativeA study of the pedgogy competency ofstudent techers
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research study were fivefold. They were; 1. to analyze the basic information on pedagogical management competencies of the students at the Faculties of Education, 2. to develop factors and indicators of the competencies, 3. to construct a tool for pedagogical management competence assessment, 4. to evaluate the students’ pedagogical management competencies, and 5. to provide policy-driven proposals to improve the quality of students at the Faculties of Education up to desirable pedagogical standards. The samples consisted of 3 groups. Firstly, 17 experts in the area of developing factors and indicators on the pedagogical management of the students at the Faculties of Education. Secondly, 400 students from the Faculties of Education of 3 categories; namely: government, government enterprise and “rajabhat”. Thirdly, 12 qualified resource persons who were keen on providing policy-driven proposals to improve the quality of students at the Faculties of Education up to desirable pedagogical standards. The research tools used in this study were an interview form for experts, a Self-report form on perceptive competencies for the students and an interview form for qualified resource persons on providing policy-driven proposals to improve the quality of students in the Faculties of Education in various contexts. Data of the study were analyzed by means of content analysis, frequency counts, percentages, means, median, standard deviations, interquartile range (IQR.), t-tests, one-way ANOVA, Scheffe’ tests and Pearson correlation coefficients. Based on the objectives of the study, the findings can be categorized into 5 parts. Firstly, it was found that there were 12 aspects of pedagogical competencies of the students at the Faculties of Education., Secondly, based on Bloom’s Taxonomy of Learning Theory, it revealed that the pedagogical competencies of the students from the Faculties of Education could be divided into 3 main groups with 83 indicators. There were 19 indicators in the Cognitive Domain, 28 indicators in the Affective Domain and 36 indicators in the Psychomotor Domain., Thirdly, based on the data from the Self-report form on perceptive competencies for the students, it was found that their competencies could be divided into 12 aspects with 83 indicators., Fourthly, it revealed that the pedagogical competencies of the students in the 12 aspects as the aforementioned could be divided into 2 levels: high and moderate. In addition, it revealed that different types of educational institutes had significant effects on the 12 aspects of their pedagogical competencies and the 3 main groups of domains at p = 0.05. The relationships of all 12 aspects, as well as the ones in the 3 domains, were in one direction with statistically significant at p = 0.01. Finally, some main policy-driven suggestions were proposed as follows: Learner’s context,Teacher's context, Higher education institutes’ context, National organizations’ context and International context.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น