กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7919
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยประยุกต์วิธีการทางประวัติศาสตร์และการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of history lerning model through historicl method nd blened lerning for mtthyomsuks ii students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อุทิศ บำรุงชีพ มณเทียร ชมดอกไม้ ยุวดี ชมชื่น มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ประวัติศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศีกษา) การจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยประยุกต์วิธีการทางประวัติศาสตร์และการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความสามารถในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และการใช้เทคโนโลยี และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนวัดบางวัว (สายเสริมวิทย์) จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ 2) แบบประเมินความสามารถในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 3) แบบประเมินความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า 1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยประยุกต์วิธีการทางประวัติศาสตร์และ การเรียนรู้แบบผสมผสาน เรียกว่า SIBERS ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 เริ่มต้นการเรียนรู้ (Start) ขั้นที่ 2 เข้าสู่การปฏิสัมพันธ์กลุ่ม (Interaction) ขั้นที่ 3 ร่วมประชุมและทำงาน (Brainstorm) ขั้นที่ 4 เพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ (Experience) ขั้นที่ 5 สรุปสู่ความเข้าใจ (Resolution) ขั้นที่ 6 แบ่งปันความรู้ใหม่สู่ห้องเรียน (Share knowledge) ซึ่งผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี 2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 4. ความสามารถในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในระดับดีมากโดยได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 85.46 และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีจัดอยู่ในระดับมากที่สุด โดยได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.04 5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยประยุกต์วิธีการทางประวัติศาสตร์และการเรียนรู้แบบผสมผสาน จัดอยู่ในระดับมากที่สุด |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7919 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 8.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น