กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/791
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันและฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ของลูกสำรอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Antioxidative and antimutagenic effect of malva nut (Scaphium scaphigerum (G. Don) Guib & Planch)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัชวิน เพชรเลิศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การออกซิเดชัน
ลูกสำรอง
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สำรอง (Scaphium scaphigerum (G. Don) Guib. & Planch.)) อยู่ในวงศ์ Sterculiaceae พบมากในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งคนไทยรู้จักใช้ประโยชน์จากเมล็ดสำรองในการเป็นยารักษาโรคและเครื่องดื่มดับกระหายที่สามารถบริโภคได้ทั้งแบบร้อนและเย็น ในปัจจุบันสภาวะแวดล้อมส่งผลทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายมากขึ้น จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของสำรอง โดยในการทดสอบจะใช้น้ำสำรองทั้งหมด 7 ความเข้มข้น คือ 5 10 25 50 100 250 และ 500 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลและฟลาโวนอยด์รวม ทดสอบฤทธิ์การกำจัดอนุมูล DPPH และทดสอบความสามารถในการรีดิวซ์ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์จากน้ำสำรองโดยใช้แบคทีเรีย S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 และ TA100 เป็นตัวทดสอบ จากการศึกษาพบว่า ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของน้ำสำรองมีค่าอยู่ในช่วง 165.81±1.78-177.47±0.90 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของสำรอง ตามลำดับ และปริมาณฟลาโวนอยด์รวมมีค่าอยู่ในช่วง 362.94±9.60-418.69±13.89 ไมโครกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อกรัมของสำรองตามลำดับ ผลของฤทธิ์การกำจัดอนุมูล DPPH ของน้ำสำรอง พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงความเข้มข้น 5-100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และลดลงในช่วงความเข้มข้น 25-500 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร (ค่า IC50 ของน้ำสำรองมีค่าเท่ากับ 7.47± 0.17 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนสารละลายวิตามินซี มีค่า IC50 เท่ากับ 0.0019±0.0001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ผลของความสามารถในการรีดิวซ์ พบว่าความเข้มข้นของน้ำสำรองในช่วง 5-25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีความสามารถในการรีดิวซ์เพิ่มขึ้น ส่วนที่ความเข้มข้นในช่วง 25-500 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรทำให้ความสามารถในการรีดิวซ์ลดลง ที่น่าสนใจคือไม่พบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ในแบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์ และเมื่อทดสอบกับไนไตรท์ในสภาวะที่เป็นกรด (pH 2.0-2.4) พบว่าผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อแบคทีเรียเช่นเดียวกัน เมื่อเทียบกับการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติของแบคทีเรีย จากนั้นจึงตรวจสอบฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของน้ำสำรองต่อผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่าง 1-อะมิโนไพรีนและไนไตรท์ พบว่าน้ำสำรองมีประสิทธิภาพในการต้านการกาลายพันธุ์สูง (85%) ในแบคทีเรียสายพันธุ์ TA98 ในขณะที่สายพันธุ์ TA100 ยับยั้งได้ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังได้ตรวจสอบฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของน้ำสำรองเมื่อบ่มพร้อมกับการเกิดปฏิกิริยาไนโตรเซชันของสารก่อกลายพันธุ์ ยังพบว่าน้ำสำรองสามารถต้านการเกิดสารก่อกลายพันธุ์ได้เมื่อเทียบกับชุดควบคุม จึงมีความเป็นไปได้ว่าการบริโภคน้ำสำรองจะช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างสารก่อกลายพันธุ์ที่มีอยู่ในอาหารกับไนไตรท์ในสภาวะของกระเพาะอาหารได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/791
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น