กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/791
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorชัชวิน เพชรเลิศ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:10Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:10Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/791
dc.description.abstractสำรอง (Scaphium scaphigerum (G. Don) Guib. & Planch.)) อยู่ในวงศ์ Sterculiaceae พบมากในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งคนไทยรู้จักใช้ประโยชน์จากเมล็ดสำรองในการเป็นยารักษาโรคและเครื่องดื่มดับกระหายที่สามารถบริโภคได้ทั้งแบบร้อนและเย็น ในปัจจุบันสภาวะแวดล้อมส่งผลทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายมากขึ้น จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของสำรอง โดยในการทดสอบจะใช้น้ำสำรองทั้งหมด 7 ความเข้มข้น คือ 5 10 25 50 100 250 และ 500 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลและฟลาโวนอยด์รวม ทดสอบฤทธิ์การกำจัดอนุมูล DPPH และทดสอบความสามารถในการรีดิวซ์ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์จากน้ำสำรองโดยใช้แบคทีเรีย S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 และ TA100 เป็นตัวทดสอบ จากการศึกษาพบว่า ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของน้ำสำรองมีค่าอยู่ในช่วง 165.81±1.78-177.47±0.90 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของสำรอง ตามลำดับ และปริมาณฟลาโวนอยด์รวมมีค่าอยู่ในช่วง 362.94±9.60-418.69±13.89 ไมโครกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อกรัมของสำรองตามลำดับ ผลของฤทธิ์การกำจัดอนุมูล DPPH ของน้ำสำรอง พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงความเข้มข้น 5-100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และลดลงในช่วงความเข้มข้น 25-500 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร (ค่า IC50 ของน้ำสำรองมีค่าเท่ากับ 7.47± 0.17 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนสารละลายวิตามินซี มีค่า IC50 เท่ากับ 0.0019±0.0001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ผลของความสามารถในการรีดิวซ์ พบว่าความเข้มข้นของน้ำสำรองในช่วง 5-25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีความสามารถในการรีดิวซ์เพิ่มขึ้น ส่วนที่ความเข้มข้นในช่วง 25-500 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรทำให้ความสามารถในการรีดิวซ์ลดลง ที่น่าสนใจคือไม่พบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ในแบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์ และเมื่อทดสอบกับไนไตรท์ในสภาวะที่เป็นกรด (pH 2.0-2.4) พบว่าผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อแบคทีเรียเช่นเดียวกัน เมื่อเทียบกับการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติของแบคทีเรีย จากนั้นจึงตรวจสอบฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของน้ำสำรองต่อผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่าง 1-อะมิโนไพรีนและไนไตรท์ พบว่าน้ำสำรองมีประสิทธิภาพในการต้านการกาลายพันธุ์สูง (85%) ในแบคทีเรียสายพันธุ์ TA98 ในขณะที่สายพันธุ์ TA100 ยับยั้งได้ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังได้ตรวจสอบฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของน้ำสำรองเมื่อบ่มพร้อมกับการเกิดปฏิกิริยาไนโตรเซชันของสารก่อกลายพันธุ์ ยังพบว่าน้ำสำรองสามารถต้านการเกิดสารก่อกลายพันธุ์ได้เมื่อเทียบกับชุดควบคุม จึงมีความเป็นไปได้ว่าการบริโภคน้ำสำรองจะช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างสารก่อกลายพันธุ์ที่มีอยู่ในอาหารกับไนไตรท์ในสภาวะของกระเพาะอาหารได้th_TH
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการออกซิเดชันth_TH
dc.subjectลูกสำรองth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันและฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ของลูกสำรองth_TH
dc.title.alternativeAntioxidative and antimutagenic effect of malva nut (Scaphium scaphigerum (G. Don) Guib & Planch)en
dc.typeResearchth_TH
dc.year2555
dc.description.abstractalternativeMalva nut, ( Scaphium scaphigerum (G. Don) Guib. & Planch.) belongs to Sterculiaceae family that is cultivated in the eastern part of Thailand. This plant is useful for medicine and beverage. At this moment, our life style has involved the free radicals and they can accumulate in our body. Free radicals have been reported to be responsible for several diseases. This study aims to measure antioxidant activities of malva nut juice of 7 concentrations (5, 25, 50, 100, 25 and 500 mg/ml.) The juice was examine for total phenolic and total flavonoid contents, DPPH radical scavenging, reducing power and the mutagenicity and antimutagenicity of malva nut juice by Ames test. Total phenolic content of malva nut juice had ranged by 165.81±1.78 to 177.47±0.90 μg gallic acid equivalent (GAE)/g of sample, respectively. Total flavonoid contents of malva nut juice had ranged by 362.94±9.60 to 418.69±13.89 μg quercetin (QE)/g of sample, respectively. Moreover, the DPPH radical scavenging activity increased in dose-dependent manner over 5-100 mg-ml then attenuated until 500 mg/ml (IC50 of malva nut juice was 7.47± 0.17 mg/ml and 0.0019±0.0001 mg/ml foe vitamin C). in addition, the reducing power of malva nut juice was also observed in dose relationship during 5-25 mg/ml and then decreased until the final concentration (500 mg/ml). Additionally, it was found that its mutageni activity did not makedly increase more than twice in comparison to the spontaneous revertants both in Salmonella typhimurium TA98 and TA100. Moreover, most nitrie-treated malva nut juice did not show the mulagenic effect on both tester strains n the absence of metabolic activation in acidic condition (pH 2.0-2.4). Then, malva nut juice was also examined for antimutagenicity against the nitrosated product between 1-minopyrene and nitrite. The results revealed that malva nut juice exerted the most effective to inhibit such mutagenic product (85% of inhibition) towards train TA98 whereas it showed the moderate effect in TA100. However, the inhibitory potency of malva nut juice on the formation between 1-aminopyrene and nitrite was observed. These results suggest that malva nut juice consumption may be usrful to human health fot the purpose of chemoprevention against direct-acting mutagen in a gastric-like condition.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น