กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7909
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนามาตรฐานการวัดและประเมินผลของครูประถมศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of mesurement nd evlution stndrds of techer in primrsschool |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พงศ์เทพ จิระโร เกษมสันต์ พานิชเจริญ มนตรี แย้มกสิกร นวลอนงค์ โพธิ์ช่วย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ครูประถมศึกษา -- มาตรฐาน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา ครูประถมศึกษา -- การประเมิน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการวัดและประเมินผลการศึกษาของ ครูประถมศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานการวัดและประเมินผลของครูประถมศึกษา และเพื่อทดลองใช้และประเมินผลการใช้มาตรฐานการวัดและประเมินผลการศึกษาที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 900 คน และกลุ่มตัวอย่างที่หลังใช้จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ครู แบบสอบถาม แบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และสถิติอ้างอิง ผลการวิจัยปรากฏว่า ขั้นตอนที่ 1 ผลการสำรวจสภาพความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล ทัศนคติเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล และการปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดและ การประเมินผล พบว่า พบว่า ครูมีระดับความรู้ไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด (38.23%) รองลงมา คือ มีความรู้อ่อน (14.00%) และมีความรู้พอใช้ (17.53%) โดยมีความรู้อยู่ในระดับดีขึ้นไปเพียง (30.24%) และครูโรงเรียนประถมศึกษามีทัศนคติต่อการวัดและการประเมินผลโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนครูโรงเรียนประถมศึกษามีการปฏิบัติในการวัดและประเมินผลโดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ขั้นตอนที่ 2 ผลการพัฒนามาตรฐานการวัดและประเมินผลของครูประถมศึกษา พบว่า มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ การวัดและประเมินผลมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทุกรายการ และทุกรายการมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ความเหมาะสมของมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้องกันทุกรายการ ความเหมาะสมของ เกณฑ์ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้องกันทุกรายการ และขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้และการประเมินมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า การประเมินของ ครูโรงเรียนด้านอรรถประโยชน์ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง และด้านความเหมาะสมหลังทดลองใช้มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7909 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น