กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7905
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The reltionship between orgniztionl culture nd job motivtion nd qulity of work life of personl in fculty of humnities nd socil sciencies burph university |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สถาพร พฤฑฒิกุล ภารดี อนันต์นาวี ธนัญฉัตร เอี่ยมเพ็ชร์ คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา |
คำสำคัญ: | คุณภาพชีวิตการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วัฒนธรรมองค์การ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ แรงจูงใจ ในการปฏิบิติงาน กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 125 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร วัฒนธรรมองค์การของบุคลากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ในระดับปานกลาง และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. วัฒนธรรมองค์การและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลางและค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. วัฒนธรรมองค์การและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านความต้องการความเจริญก้าวหน้า (X23) ด้านความต้องการด้านสัมพันธภาพ (X22) ด้านความต้องการในการดำรงชีวิต (X21) สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ร้อยละ 71.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Y' = .831 + .328 (X23) + .261 (X22) + .169 (X21) Z' = .397 (Z23) + .347 (Z22) + .203 (Z21) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7905 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 871.47 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น