กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7867
ชื่อเรื่อง: การลดอาการถอนนิโคตินและเพิ่มการผ่อนคลายด้วยโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทยในการเลิกบุหรี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Decresing nicotine withdrwl symptoms nd incresing relxtion by using foot reflexology combined with thi essentil rom oils progrm in smoking cesstion
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาดา กรเพชรปาณี
สนอง คล้ำฉิม
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
Health Sciences
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
การกดจุด
การนวดกดจุดสะท้อน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: นิโคตินเป็นสารประกอบในบุหรี่ที่ทำให้เกิดการเสพติด เมื่อหยุดสูบบุหรี่จะเกิดอาการถอนนิโคตินและความเครียด การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทยเพื่อลดอาการถอนนิโคตินและเพิ่มการผ่อนคลายในการเลิกบุหรี่ และเปรียบเทียบอาการถอนนิโคติน กับกลุ่มเปรียบเทียบที่ใช้หมากฝรั่งนิโคติน กลุ่มตัวอย่าง เป็นอาสาสมัครผู้เลิกบุหรี่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองโคน เพศชาย จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดอาการถอนนิโคตินด้านจิตวิทยา และแบบวัดด้านสมรรถนะการจำสัญลักษณ์ตัวเลข เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทย และหมากฝรั่งนิโคติน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ MANOVA ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) โปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทย ประกอบด้วย ตำแหน่งจุดสะท้อนเท้า 16 ตำแหน่ง และน้ำมันหอมระเหย 2 ชนิด ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยมะกรูด และกระดังงา โดยการสูดดม และผสมเป็นน้ำมันนวด ใช้เวลานวดครั้งละ 40 นาที วันละ 1 ครั้ง 2) ระยะหลังการทดลองในกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการนวดฯ สามารถลดอาการถอนนิโคตินด้านจิตวิทยาและเพิ่มสมรรถนะการจำสัญลักษณ์ตัวเลข รวมทั้งสามารถเพิ่มการผ่อนคลายหลัง การนวดในแต่ละวันได้ (p < .05) 3) ผลการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการนวดฯ กับกลุ่มที่ใช้หมากฝรั่งนิโคติน ปรากฏว่า กลุ่มที่ใช้หมากฝรั่งนิโคตินสามารถลดอาการถอนนิโคตินได้ดีกว่าในช่วงหลังเลิกบุหรี่วันที่ 2 และ 3 แต่ไม่มีความแตกต่างกันในช่วงหลังเลิกบุหรี่วันที่ 4
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7867
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf8.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น