กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7867
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุชาดา กรเพชรปาณี
dc.contributor.authorสนอง คล้ำฉิม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:57Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:57Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7867
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractนิโคตินเป็นสารประกอบในบุหรี่ที่ทำให้เกิดการเสพติด เมื่อหยุดสูบบุหรี่จะเกิดอาการถอนนิโคตินและความเครียด การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทยเพื่อลดอาการถอนนิโคตินและเพิ่มการผ่อนคลายในการเลิกบุหรี่ และเปรียบเทียบอาการถอนนิโคติน กับกลุ่มเปรียบเทียบที่ใช้หมากฝรั่งนิโคติน กลุ่มตัวอย่าง เป็นอาสาสมัครผู้เลิกบุหรี่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองโคน เพศชาย จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดอาการถอนนิโคตินด้านจิตวิทยา และแบบวัดด้านสมรรถนะการจำสัญลักษณ์ตัวเลข เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทย และหมากฝรั่งนิโคติน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ MANOVA ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) โปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทย ประกอบด้วย ตำแหน่งจุดสะท้อนเท้า 16 ตำแหน่ง และน้ำมันหอมระเหย 2 ชนิด ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยมะกรูด และกระดังงา โดยการสูดดม และผสมเป็นน้ำมันนวด ใช้เวลานวดครั้งละ 40 นาที วันละ 1 ครั้ง 2) ระยะหลังการทดลองในกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการนวดฯ สามารถลดอาการถอนนิโคตินด้านจิตวิทยาและเพิ่มสมรรถนะการจำสัญลักษณ์ตัวเลข รวมทั้งสามารถเพิ่มการผ่อนคลายหลัง การนวดในแต่ละวันได้ (p < .05) 3) ผลการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการนวดฯ กับกลุ่มที่ใช้หมากฝรั่งนิโคติน ปรากฏว่า กลุ่มที่ใช้หมากฝรั่งนิโคตินสามารถลดอาการถอนนิโคตินได้ดีกว่าในช่วงหลังเลิกบุหรี่วันที่ 2 และ 3 แต่ไม่มีความแตกต่างกันในช่วงหลังเลิกบุหรี่วันที่ 4
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
dc.subjectHealth Sciences
dc.subjectเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subjectการกดจุด
dc.subjectการนวดกดจุดสะท้อน
dc.titleการลดอาการถอนนิโคตินและเพิ่มการผ่อนคลายด้วยโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทยในการเลิกบุหรี่
dc.title.alternativeDecresing nicotine withdrwl symptoms nd incresing relxtion by using foot reflexology combined with thi essentil rom oils progrm in smoking cesstion
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeNicotine is a compound found in the cigarettes that can cause addiction, nicotine withdrawal symptoms and stress when stop smoking. The purpose of this study were to develop foot reflexology combined with a Thai aroma essential oils program for decreasing nicotine withdrawal symptoms and increasing relaxation in smoking cessation, and to compare results with those from an active control group which used only nicotine gum. The participants were sixty male volunteers from the Health Promotion Hospital, Khlongkhon District. They were randomly assigned to the experimental and the active control groups. Research instruments included the nicotine withdrawal scale in psychological tests and digit symbol substitution test, heart rate monitor, foot reflexology combined with a Thai aroma essential oils program, and nicotine gum. Data were analyzed by using MANOVA. The results were as follows: 1) Foot reflexology combined with a Thai aroma essential oils program comprised 16 foot points reflex and 2 Thai aroma essential oils (Bergamot and Ylang-Ylang) in forms of inhalation and the mixture of massage oil. The massage sessions have been held during 40 minutes per day. 2) In the experimental group, foot reflexology combined with a Thai aroma essential oils program led to a decrease in nicotine withdrawal symptoms in psychological tests and an increase in memory performance of digit symbol substitution test. Moreover, it could enhance in relaxation after using the developed program. 3) The active control group exhibited lower levels of nicotine withdrawal symptoms in psychological tests on day 2 and day 3 after smoking cessation compared to the experimental group. However, the levels of nicotine withdrawal symptoms were not significantly different between groups on day 4 after smoking cessation.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameปร.ด.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf8.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น