กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7851
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอลต่อความเจ็บปวดและระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วในผู้คลอดครรภ์แรก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of body movement by birth bll progrm on lbor pin nd ctive phse durtion mong primiprous prturients. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณทนา ศุภสีมานนท์ ศิริวรรณ แสงอินทร์ ละมัย วงศาสนธิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การคลอด สูติศาสตร์ ครรภ์ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ การทำคลอด ปากมดลูก |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การเจ็บครรภ์ในระยะที่ 1 ของการคลอดเป็นความเจ็บปวดที่ทำให้เกิดความไม่สุขสบาย และความทุกข์ทรมานต่อผู้คลอดโดยเฉพาะผู้คลอดครรภ์แรกการวิจัยที่เปรียบได้กับการวิจัยแบบทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอลต่อความเจ็บปวดและระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วในผู้คลอดครรภ์แรกกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกที่มารับบริการการคลอดที่ห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จำนวน 64 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกแล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กลุ่มละ 32 คน ผู้คลอดกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเคลื่อนไหว ร่างกายโดยใช้ลูกบอลร่วมกับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียวเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอล แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและสูติศาสตร์และมาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่าผู้คลอดที่ได้รับโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนนความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดอย่างรวดเร็วและระยะเปลี่ยนผ่านน้อยกว่า (t 41.85= 8.50,p< .001; t 43.11 = 9.75, p< .001 ตามลำดับ) และมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วสั้นกว่า (t 60 = 5.06, p< .001) ผู้คลอด กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอลส่งผลให้ผู้คลอดมีความเจ็บปวดในระยะคลอดน้อยกว่าและระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วสั้นกว่า ดังนั้น พยาบาลห้องคลอดควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้คลอดเพื่อส่งเสริมให้ผู้คลอดผ่านพ้นระยะการคลอดไปได้ด้วยดี |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7851 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น