Abstract:
การเจ็บครรภ์ในระยะที่ 1 ของการคลอดเป็นความเจ็บปวดที่ทำให้เกิดความไม่สุขสบาย และความทุกข์ทรมานต่อผู้คลอดโดยเฉพาะผู้คลอดครรภ์แรกการวิจัยที่เปรียบได้กับการวิจัยแบบทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอลต่อความเจ็บปวดและระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วในผู้คลอดครรภ์แรกกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกที่มารับบริการการคลอดที่ห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จำนวน 64 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกแล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กลุ่มละ 32 คน ผู้คลอดกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเคลื่อนไหว ร่างกายโดยใช้ลูกบอลร่วมกับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียวเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอล แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและสูติศาสตร์และมาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่าผู้คลอดที่ได้รับโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนนความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดอย่างรวดเร็วและระยะเปลี่ยนผ่านน้อยกว่า (t 41.85= 8.50,p< .001; t 43.11 = 9.75, p< .001 ตามลำดับ) และมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วสั้นกว่า (t 60 = 5.06, p< .001) ผู้คลอด กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอลส่งผลให้ผู้คลอดมีความเจ็บปวดในระยะคลอดน้อยกว่าและระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วสั้นกว่า ดังนั้น พยาบาลห้องคลอดควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้คลอดเพื่อส่งเสริมให้ผู้คลอดผ่านพ้นระยะการคลอดไปได้ด้วยดี