กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7851
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณทนา ศุภสีมานนท์
dc.contributor.advisorศิริวรรณ แสงอินทร์
dc.contributor.authorละมัย วงศาสนธิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:54Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:54Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7851
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการเจ็บครรภ์ในระยะที่ 1 ของการคลอดเป็นความเจ็บปวดที่ทำให้เกิดความไม่สุขสบาย และความทุกข์ทรมานต่อผู้คลอดโดยเฉพาะผู้คลอดครรภ์แรกการวิจัยที่เปรียบได้กับการวิจัยแบบทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอลต่อความเจ็บปวดและระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วในผู้คลอดครรภ์แรกกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกที่มารับบริการการคลอดที่ห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จำนวน 64 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกแล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กลุ่มละ 32 คน ผู้คลอดกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเคลื่อนไหว ร่างกายโดยใช้ลูกบอลร่วมกับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียวเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอล แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและสูติศาสตร์และมาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่าผู้คลอดที่ได้รับโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนนความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดอย่างรวดเร็วและระยะเปลี่ยนผ่านน้อยกว่า (t 41.85= 8.50,p< .001; t 43.11 = 9.75, p< .001 ตามลำดับ) และมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วสั้นกว่า (t 60 = 5.06, p< .001) ผู้คลอด กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอลส่งผลให้ผู้คลอดมีความเจ็บปวดในระยะคลอดน้อยกว่าและระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วสั้นกว่า ดังนั้น พยาบาลห้องคลอดควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้คลอดเพื่อส่งเสริมให้ผู้คลอดผ่านพ้นระยะการคลอดไปได้ด้วยดี
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการคลอด
dc.subjectสูติศาสตร์
dc.subjectครรภ์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.subjectการทำคลอด
dc.subjectปากมดลูก
dc.titleผลของโปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ลูกบอลต่อความเจ็บปวดและระยะเวลาปากมดลูกเปิดเร็วในผู้คลอดครรภ์แรก
dc.title.alternativeEffects of body movement by birth bll progrm on lbor pin nd ctive phse durtion mong primiprous prturients.
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeLabor pain in the first stage of labour causes discomfort and suffering for women, especially in primiparous parturients. This comparative experimental research aimed to examine the effects of body movement by birth ball program on labor pain and duration of active phase among primiparous parturients. Participants consisted of 64 primiparous parturients at the labor and delivery unit, Somdej Phranangchaosirikit Hospital. They were selected by convenience sampling and were randomly assigned to the control or intervention groups by using simple computerized random numbers (n= 32 participants in each group). The parturient women in the experimental group received both body move ment by birth ball program and routine care while women in the control group received routine care. Data were collected by the demographic/ obstetrical record form and a visual analogue scale for pain. Data were analyzed by descriptive statistics and independent t-test. Results revealed that the experiment group had significantly less mean labor pain scores in the phase of maximum slope and in the transitional phase (t 41.85 = 8.50, p < .001; t 43.11 = 9.75, p< .001 respectively) and had lower mean duration of active phase (t 60= 5.06, p< .001) than those of the control group. Findings show that body movement by birth ball program can reduce labor pain and decrease duration of active phase. Therefore, midwives should apply this birth ball program in caring for parturients in order to help them safely and soundly pass through their labor period.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น