กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7845
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors relted to socil intelligence of nursing students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนัดดา แนบเกษร จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส ศิริญพร บุสหงษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | นักศึกษาพยาบาล Health Sciences ความฉลาดทางสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ความฉลาดทางสังคม เป็นความฉลาดอีกด้านหนึ่งซึ่งมีความสําคัญและจําเป็นที่ควรทําการส่งเสริมให้กับนักศึกษาพยาบาล ความฉลาดทางสังคมช่วยให้นักศึกษาพยาบาลสามารถเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีสัมพันธภาพที่ดีผู้อื่น สามารถปรับตัวและพฤติกรรมแสดงออกได้เหมาะสมกับสถานการณ์สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดําเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รูปแบบการเผชิญปัญหา ความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และบรรยากาศการเรียนการสอนกับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1-4 จํานวน 120 ราย ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความฉลาดทางสังคม แบบสอบถามรูปแบบการเผชิญปัญหา แบบสอบถามความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและแบบสอบถามบรรยากาศการเรียนการสอน ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้แก่ .82, .76, .80, .91 และ.90 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสังคมโดยรวมของนักศึกษาพยาบาลเท่ากับ 105.09 (SD = 9.49) อยู่ในระดับปานกลาง ความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน รูปแบบการเผชิญปัญหา สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และบรรยากาศการเรียนการสอน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .593, .572, .562 และ .218 ตามลําดับ) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ผู้บริหารและคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล สามารถใช้ผลวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเสริมสร้าง ความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน รูปแบบการเผชิญปัญหา สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และบรรยากาศการเรียนการสอน ให้แก่นักศึกษาพยาบาลต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7845 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น