Abstract:
ความฉลาดทางสังคม เป็นความฉลาดอีกด้านหนึ่งซึ่งมีความสําคัญและจําเป็นที่ควรทําการส่งเสริมให้กับนักศึกษาพยาบาล ความฉลาดทางสังคมช่วยให้นักศึกษาพยาบาลสามารถเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีสัมพันธภาพที่ดีผู้อื่น สามารถปรับตัวและพฤติกรรมแสดงออกได้เหมาะสมกับสถานการณ์สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดําเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รูปแบบการเผชิญปัญหา ความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และบรรยากาศการเรียนการสอนกับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1-4 จํานวน 120 ราย ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความฉลาดทางสังคม แบบสอบถามรูปแบบการเผชิญปัญหา แบบสอบถามความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและแบบสอบถามบรรยากาศการเรียนการสอน ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้แก่ .82, .76, .80, .91 และ.90 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสังคมโดยรวมของนักศึกษาพยาบาลเท่ากับ 105.09 (SD = 9.49) อยู่ในระดับปานกลาง ความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน รูปแบบการเผชิญปัญหา สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และบรรยากาศการเรียนการสอน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .593, .572, .562 และ .218 ตามลําดับ) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ผู้บริหารและคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล สามารถใช้ผลวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเสริมสร้าง ความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน รูปแบบการเผชิญปัญหา สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และบรรยากาศการเรียนการสอน ให้แก่นักศึกษาพยาบาลต่อไป