DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนัดดา แนบเกษร
dc.contributor.advisor จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
dc.contributor.author ศิริญพร บุสหงษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:12:53Z
dc.date.available 2023-05-12T06:12:53Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7845
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ความฉลาดทางสังคม เป็นความฉลาดอีกด้านหนึ่งซึ่งมีความสําคัญและจําเป็นที่ควรทําการส่งเสริมให้กับนักศึกษาพยาบาล ความฉลาดทางสังคมช่วยให้นักศึกษาพยาบาลสามารถเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีสัมพันธภาพที่ดีผู้อื่น สามารถปรับตัวและพฤติกรรมแสดงออกได้เหมาะสมกับสถานการณ์สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดําเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รูปแบบการเผชิญปัญหา ความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และบรรยากาศการเรียนการสอนกับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1-4 จํานวน 120 ราย ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความฉลาดทางสังคม แบบสอบถามรูปแบบการเผชิญปัญหา แบบสอบถามความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและแบบสอบถามบรรยากาศการเรียนการสอน ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้แก่ .82, .76, .80, .91 และ.90 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสังคมโดยรวมของนักศึกษาพยาบาลเท่ากับ 105.09 (SD = 9.49) อยู่ในระดับปานกลาง ความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน รูปแบบการเผชิญปัญหา สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และบรรยากาศการเรียนการสอน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .593, .572, .562 และ .218 ตามลําดับ) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ผู้บริหารและคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล สามารถใช้ผลวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเสริมสร้าง ความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน รูปแบบการเผชิญปัญหา สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และบรรยากาศการเรียนการสอน ให้แก่นักศึกษาพยาบาลต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject นักศึกษาพยาบาล
dc.subject Health Sciences
dc.subject ความฉลาดทางสังคม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล
dc.title.alternative Fctors relted to socil intelligence of nursing students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Social intelligence is important and necessary to be promoted for nursing students. Social intelligence assist nursing students to have ability in understanding themselves and others,have good relationships, adapt themselves well and behave appropriately with the situation, able to collaborate in working effectively with others and live happily in society. The purposesof this descriptive correlational study were to examine social intelligence and test its relationship with associated factors including academic achievement, coping strategies, ability of learning adjustment, interpersonal relationships, teaching and learning atmosphere of nursing students. Stratified random sampling was used to select college nursing students in the 1 st to 4th years to participate in this study (n= 120). Data collection was conducted using personal information record, and five self- reported questionnaires including social intelligence, coping strategies, ability of learning adjustment, interpersonal relationships and teaching and learning atmosphere. The reliability coefficients of these five questionnaires were .82, .76, .80, .91, and .90, respectively. Descriptive statistics and Pearson’s Product Moment Correlation were employed for data analyses. The results revealed that the average score of social intelligence in total was 105.09 (SD = 9.49) which is at a moderate level. The social intelligence was significantly correlated with ability of learning adjustment, coping strategies, interpersonal relationships, and teaching and learning atmosphere at p < .01 (r = .593, .572, .562, and.218 respectively). The academic achievement was not significantly correlated withsocial intelligence. Administrators and instructors in nursing education can use this study results as a baseline data for the development of intervention aimed at enhancingnursing students’ social intelligenceby enhancing students’ abilitiesof learning adjustment, coping strategies, interpersonal relationships and teaching and learning atmosphere.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account