กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7840
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยวิธีรำวงย้อนยุคต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of self-regultion progrm in retro-line dncing exercise on blood sugr level nd physicl fitness of persons t high risk to type 2 dibetes mellitus
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมสมัย รัตนกรีฑากุล
นิสากร กรุงไกรเพชร
ณัฐชนน ผุยนวล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: เบาหวาน -- โรค
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
กลูโคสในเลือด
การออกกำลังกาย
Health Sciences
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การออกกําลังกายที่มีความหนักระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกํากับตนเองด้านการออกกําลังกายด้วยวิธีรําวงย้อนยุคต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน รวม 55 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกํากับตนเองด้านการออกกําลังกายด้วยวิธีรําวงย้อนยุค ระยะเวลา 8 สัปดาห์กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ (คลินิกดีแพค) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบที การทดสอบวิลคอกซัน และสิถิติทดสอบแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างระดับน้ำตาลในเลือด (t= 2.00, p-value = .025) ค่าเฉลี่ยผลต่างเส้นรอบเอว (t= 5.23, p-value < .001) เปอร์เซ็นต์ไขมัน (t = 2.71, p-value = .009) และความดันโลหิตตัวบน (z= -1.68, p-value = .044) ลดลงมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยผลต่างความจุปอดเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 2.97, p-value = .005) แต่ค่าเฉลี่ย ผลต่างความดันโลหิตตัวล่างไม่ลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (z= -.88, p-value = .199) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลชุมชนสามารถนําโปรแกรมนี้ไปใช้ในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานของกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับการดําเนินงานคลินิกดีแพค เพื่อให้มีการออกกําลังกายอย่างต่อเนื่องจนเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7840
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น