กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7838
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorธรรมนูญ รัศมีมาสเมือง
dc.contributor.authorกมลพล ขยันหา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:52Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:52Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7838
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยทางอุทกพลศาสตร์ที่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของต้นกล้าป่าชายเลนและการตายของต้นกล้าป่าชายเลน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่าชายเลน ต้นไม้ที่ใช้ในการศึกษามี 2 ชนิด คือ ต้นกล้าโกงกางและต้นกล้าแสม ซึ่ง แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) การศึกษาผลกระทบของคลื่น ทำการทดลองผลกระทบของคลื่นในรางน้ำจำลองคลื่นมีความยาว 16 เมตร หน้าตัดกว้าง 60 เซนติเมตร และ ลึก 80 เซนติเมตร ต้นกล้าป่า ชายเลนถูกนำลงไปในรางเพื่อรับแรงกระทำจากคลื่น ความสูงของระดับน้ำที่ใช้ในการทดลอง 50 เซนติเมตร คลื่นที่ใช้ในการทดลองเป็นคลื่นแบบสม่ำเสมอที่มีคาบคลื่น 1 วินาที และความสูงคลื่น แตกต่างกัน 3 ค่า คือ 7.73, 10.57 และ 12.29 เซนติเมตร ใช้เวลาในการทดลองกรณีละ 2 ชั่วโมงต่อวัน ทดลองต่อเนื่องกันเป็นเวลา 30 วัน 2) การศึกษาผลกระทบของกระแสน้ำ ทำการทดลองในรางน้ำจำลองการไหล ขนาดเท่ากันกับรางน้ำจำลองคลื่น (รางจำลองคลื่นถูกเปลี่ยนเป็นรางจำลองการไหล) ต้นกล้าป่าชายเลนถูกนำลงไปในรางเพื่อรับแรงกระทำจากกระแสน้ำ ความสูงของระดับน้ำในการทดลอง 50 เซนติเมตรความเร็วกระแสน้ำที่ใช้การทดลองแตกต่างกัน 3 ค่า คือ 0.11,0.23 และ 0.37 เมตรต่อวินาทีใช้เวลาในการทดลองกรณีละ 2 ชั่วโมงต่อวันทดลองต่อเนื่องเป็นเวลา 30 วัน 3) การศึกษาผลกระทบของระดับน้ำท่วมต้นทำการทดลองในกระบะพลาสติกสี่เหลี่ยมลึก 107 เซนติเมตร กว้าง 116 เซนติเมตร และยาว 198 เซนติเมตร ภายในมีขั้นบันใดเพื่อจำลองการปลูกต้นกล้าป่าชายเลนที่ระดับน้ำท่วมแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ ระดับน้ำท่วมทั้งต้น (70 เซนติเมตร) ระดับน้ำท่วมกลางต้น (35 เซนติเมตร) และระดับน้ำท่วมราก (15 เซนติเมตร) ทดลองโดยการจำลองน้ำขึ้น-น้ำลงด้วยการสูบน้ำเข้ากระบะทดลองให้ได้ระดับน้ำภายในกระบะทดลองที่ 70 เซนติเมตรแช่ทิ้งไว้ 3 ชั่วโมงแล้วสูบน้ำออกทุกวัน ทดลองต่อเนื่องกันเป็นเวลา 60 วัน 4) การศึกษาผลกระทบของความเค็มของน้ำ ทำการทดลองผลกระทบของความเค็มของน้ำในกระบะพลาสติกสี่เหลี่ยมกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 85 เซนติเมตร ลึก 51 เซนติเมตร 3 กระบะ โดยการเติมน้ำเกลือที่มีค่าความเค็มต่างกัน 3 ค่า คือ 5, 25 และ 35 psu ลงในกระบะทดลองจนเต็ม จากนั้นนำต้นกล้าป่าชายเลนทั้ง 2 ชนิดมาแช่ในกระบะทดลองเป็นเวลา 4 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อครบเวลาแล้วจึงยกออกมาวางด้านนอกกระบะ ทำการทดลองต่อเนื่องกันเป็นเวลา 60 วัน การทดลองทั้ง 4 ส่วน ทำการเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพทั้งหมด 5 ข้อมูล คือ ข้อมูลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางข้อมูลความสูงของลำต้น ข้อมูลจำนวนใบ ข้อมูลน้ำหนักมวลชีวภาพ และข้อมูลจำนวนต้นกล้าที่ตาย ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การกระทำของคลื่นและกระแสน้ำ มีความสัมพันธ์กับการตายของต้นกล้าโกงกางอย่างชัดเจนเนื่องจากว่า ต้นกล้าโกงกางมีลักษณะใบใหญ่และแข็ง จึงได้รับผลกระทบจากคลื่นและกระแสน้ำ น้ำมากในกรณีของคลื่นพบว่า คลื่นซัดใบของต้นกล้าโกงกางซ้ำ แล้วซ้ำอีกจนใบขาดและต้นกล้าตาย ส่วนกรณีของกระแสน้ำ พบว่า กระแสน้ำพัดทำให้ใบของต้นกล้าโกงกางหุบเข้าหากัน ตลอดเวลาไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้และต้นกล้าเฉาตายในกรณีของต้นกล้าแสม พบว่า ต้นกล้าแสม สามารถทนผลกระทบของคลื่นได้ดีกว่าต้นกล้าโกงกาง เนื่องจากลักษณะของใบและลำต้น ที่สามารถพลิ้วไหวได้ง่ายจึงได้รับผลกระทบจากคลื่นน้อยกว่าต้นกล้าโกงกาง ส่วนกรณีกระแสน้ำ พบว่า ต้นกล้าแสม สามารถทนต่อผลกระทบของกระแสน้ำได้น้อยกว่าต้นกล้าโกงกาง เนื่องจากต้นกล้าแสมมีขนาดลำต้นเล็ก สามารถรับแรงที่กระทำตลอดแนวของลำต้นอย่างต่อเนื่องได้อยกว่าต้นกล้าโกงกางที่มีขนาดลำต้นใหญ่กว่านอกจากนี้ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ต้นกล้าแสมและต้นกล้าโกงกางมีการเจริญเติบโตน้อยที่สุด ในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากระดับ น้ำท่วมทั้งต้น และมีการเจริญเติบโตได้ดีหากอยู่ในพื้นที่สูงความเค็มของน้ำ มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าแสมมากกว่าต้นกล้าโกงกาง เพราะว่า จากการสังเกตในการทดลอง พบว่า ต้นกล้าโกงกางมีการขับเกลือออกทางใบได้มากกว่าต้นกล้าแสม ส่งผลให้ต้นกล้าโกงกาง ได้รับผลกระทบจากความเค็มของน้ำน้อยกว่า แต่ว่าความเค็มของน้ำ มีผลต่อการหลุดล่วงของใบของต้นกล้าโกงกางคือเมื่อค่าความเค็มเพิ่มขึ้นส่งผลให้ใบของต้นกล้าโกงกางลดลง เพราะว่าต้นกล้าโกงกางเมื่อมีการขับเกลือออกทางใบระยะหนึ่งแล้วใบจะเริ่มมีการเปลี่ยนสีและหลุดออก ทำให้เมื่อค่าความเค็มของน้ำมากจึงส่งผลให้ใบของต้นกล้าโกงกางหลุดออกมากตามไปด้วย จากผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่าชายเลนได้โดยสามารถเลือกพื้นที่ปลูกต้นกล้าโกงกางและต้นกล้าแสมที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของต้นกล้าทั้งสองได้และสามารถทำนายเปอร์เซ็นต์การตายของต้นกล้าโกงกางที่นำไปปลูกได้ด้วยสมการที่ได้จากการศึกษาการศึกษาในอนาคตควรมีการขยายขอบเขตการศึกษาไปยังภาคสนามเพิ่มเติมต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectป่าชายเลน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
dc.subjectนิเวศวิทยาชายฝั่ง
dc.subjectนิเวศวิทยาป่าชายเลน
dc.titleการทดลองในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับผลกระทบของปัจจัยทางอุทกพลศาสตร์ที่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของต้นกล้าป่าชายเลน
dc.title.alternativeLbortory experiments on the effects of hydrodynmic fctors on the physicl chrcteristics of plnted mngrove sprouts
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study about the effect of hydrodynamic factors on the physical characteristics and the mortality of mangrove sprouts, in order to be a guideline for increasing the effectiveness of mangrove reforestation. Two types of mangrove sprouts, which are Avicennia alba and Rhizophora apiculata, were used in the study. The study were divided into four sections. Section one is the study of, the effectsdue to waves. The experiment was conducted in a wave flume, of which the size is 16 m. long, 60 cm. wide and 80 cm. deep. The mangrove sprouts were planted in the flume with a uniform water level of 50 cm. Three different wave heights (7.73, 10.57 and 12.29 cm.) of regular waves with the period of 1 sec were applied in the experiment. The tests run for 2 hours per day for each case continuously for thirty days. Section two is the study of, the effects due to currents. The experiment was conducted in the flume (but the wave flume was modified to be the flow flume) with the water level of 50 cm. and 3 different current velocity of 0.11, 0.23 and 0.37 m/sec. The tests run for 2 hoursper day for each case continuously for thirty days. Section three is the study of, the effectsdue to flood water levels. The experiment was conducted in a rectangular plastic tank, of which the size is 107 cm. deep, 116 cm. wide and 198 cm. long. In the tank there are3 steps for simulating the mangrove sprout planted with three different flood levels of 70, 35 and 15 cm. To simulate tide, every day water was pumped into the tank at water level of 70 cm., then immersed the sprouts for three hours, and was finally pumped out. The experiment was continued for 60 days. Section four is, the study of the effectsof water salinity. The study were conducted in a rectangular plastic tanks, of which the size is 60 cm. wide, 80 cm. long and 51 cm. deep. Three salinity of the saline water were used in the study, which are 5, 25 and 35 psu. The mangrove sprouts were immersed for 4 hour, then were taken out from the tank. The experiment was continued for 60 days. In all sections, Five physical characteristics diameter, height, number of leaves, biomass and death number of the mangrove sprouts were measured. The results show that the influence of wave and current had clearly affect on the death of the Rhizophora apiculata sprouts because they have big, thick and strength leaves. The wave forces, impacted repeatedly on the leaves until they dropped out, consequently the sprouts died. In case of the effects of currents. The currents caused the leaves to fold together all the time, thus the leaves cannot be photosynthesized and then the trees died. The results also show that the Avicennia alba sprouts can endure with the effectsof waves more than the Rhizophora Apiculata sprouts can, because the leaves and the trunks of the Avicennia alba trees can sway and effectively damp the wave force. However, the Avicennia alba sprouts can endure with the effectsof currents less than the Rhizophora Apiculata sprouts can, because the trunks of the Rhizophora apiculata trees is stouter than the Avicennia albatrees so the trunks of the Rhizophora apiculata trees are able to resist on the current force. In addition the experiments show the Rhizophora apicula sprouts and the Avicennia albasprout have the lowest growth with the flood water level of 70 cm., on the other hand they grow well with the lower flood level. Salinity also effectson the Avicennia alba sprouts rather than the Rhizophora apiculata sprout, because the leaves of the Rhizophora apiculata trees are capable of discharging salt better than the Avicennia alba trees do. Nevertheless, the salinity effects on the leavesof the Rhizophora apiculata trees as well. In case of high salinity, the ability of the salt discharge of the leaves reaches the limit, then the leaves change turned to brown and black and finally failed down. Finding of the research can be used as a guideline for enhancing the effectiveness of mangrove reforestation by selecting appropriate areas for planting the Rhizophora apiculata and Avicennia alba trees and estimating the possible death percentage of Rhizophora apiculata sprout with equation obtained from the study. In the future the study should be extended into the real fields of the mangrovereforestation.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น