กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7834
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบแสดงผลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการขออนุญาตก่อสร้างอาคารกรณีศึกษาพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of lnd use designtion system for building permission1: cse study in ptty city chonburi province.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพชร์รัตน์ ลิ้มสุปรียารัตน์
สุริยา แก้วเขียว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: อาคาร
Humanities and Social Sciences
การก่อสร้าง -- นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
กฎหมายก่อสร้าง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐาน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบสนับสนุนการแสดงผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยใช้แนวคิดการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) กับระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ที่รวบรวม กฎหมายทั้งหมดที่บังคับใช้ในพื้นที่เมืองพัทยามาจัดทำเป็นฐานข้อมูลอ้างอิงระบบต้นแบบถูกพัฒนาขึ้นบนโดยใช้ระบบให้ระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตของกูเกิลซึ่งสามารถแบ่งการทำงาน 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนแสดงแผนที่ 2) ส่วนเครื่องมือการใช้งาน ประกอบด้วยเครื่องมือวัดระยะทาง เครื่องมือวัดขนาดพื้นที่ เครื่องมือแสดงชั้นข้อมูลและเครื่องมือค้นหาโฉนดที่ดิน และ 3) การวิเคราะห์ การขออนุญาตก่อสร้างอาคารผู้ใช้งานสามารถกำหนดความกว้างเขตทางและข้อมูลประเภทอาคารได้ 11 ประเภท ได้แก่ บ้านพักอาศัย ห้องแถว บ้านแถว ตึกแถวโรงแรม อาคารสูงอาคารขนาดใหญ่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุด อาคารอยู่อาศัยรวม และหอพัก ระบบสามารถประมวลผลและแสดงผลได้ 3 ลักษณะ คือ สามารถก่อสร้างอาคารได้ไม่สามารถก่อสร้างอาคารได้และก่อสร้างได้แต่มีเงื่อนไขตามข้อกฎหมายกฎระเบียบ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2558 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และข้อตกลงระหว่างเมืองพัทยาและหน่วยแยกรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ผลการทดสอบระบบที่พัฒนาขึ้นโดยการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อระบุ การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบเดิมและการใช้จากระบบต้นแบบที่พัฒนาขึ้น โดยเจ้าหน้าที่เมืองพัทยาที่ปฏิบัติงานด้านการขออนุญาตอาคาร จำนวน 10 คน พบว่า การสืบค้นข้อมูลแบบเดิมใช้เวลาโดยเฉลี่ย 19 นาที 57 วินาทีต่อแปลงที่ดิน ซึ่งมากกว่าการสืบค้นข้อมูลโดยระบบที่พัฒนาขึ้นใช้เวลาโดยเฉลี่ย 1 นาที 21 วินาทีต่อแปลงที่ดิน และการทดสอบความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบและต่อภาพรวมของระบบ ฯ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทำการติดต่อเข้ารับบริการการสืบค้นการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ผู้ออกแบบ นักลงทุน เจ้าของแปลงที่ดิน ผู้ดำเนินธุรกิจค้าขายที่ดิน จำนวน 30 คน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7834
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น