กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7830
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองคณิตศาสตร์แบบหลายขั้นตอนสำหรับปัญหาการขนส่งคอยล์โลหะ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Multi-stge mthemticl model for metl coil trnsporttion problem
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักรวาล คุณะดิลก
ภิญญามาศ มานะทวีวัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
การขนส่งสินค้า
การขนส่ง -- การวางแผน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นปัญหาการวางแผนการขนส่งคอยล์โลหะรายวันของผู้ผลิตที่ต้องจัดกลุ่มคอยล์สำหรับการขนส่งบนรถบรรทุกเที่ยวเดียวกัน ตามคำสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละรายการจ้าง ผู้ประกอบการโลจิสติกส์หลายรายที่มีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการขนส่ง ทำให้ผู้วางแผนต้องใช้เวลา 4-6 ชั่วโมงต่อวันในการจัดตารางการขนส่ง โดยวิธีเดิมผู้วางแผนจะใช้ประสบการณ์ในการนำเงื่อนไขแบบรายเดือนมากำหนดเป็นเงื่อนไขในการจัดการขนส่งแบบรายวัน ส่งผลให้มีการเลือกใช้ ผู้ประกอบการทุกรายในทุก ๆ วัน ทำให้เกิดข้อจำกัดและการเสียโอกาสในการเลือกผู้ประกอบการให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายในรอบเดือน งานวิจัยนี้เสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบหลายขั้นตอนในการจัดตารางการขนส่งรายวัน จากแนวคิดในการกำหนดผู้ประกอบการโลจิสติกส์ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายในรอบเดือน โดยขั้นตอนแรก เป็นการประมวลผลแบบจำลองปัญหาการขนส่งภายใต้เงื่อนไขสัดส่วนน้ำหนักแบบรายเดือนที่ระบุในสัญญาจ้างเพื่อให้ได้แนวทางในการจัดการขนส่งที่มีค่าขนส่งรายเดือนที่ต่ำที่สุดที่เป็นไปได้โดยใช้ข้อมูลนำเข้าจากการพยากรณ์ขั้นตอนที่สองเป็นการใช้แบบจำลองกำหนดการเชิงเส้น จำนวนเต็มผสมในการจัดตารางการขนส่งรายวันตามแนวทางของผลลัพธ์จากขั้นตอนแรก และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการขนส่ง การทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการวิจัยจากปัญหาการขนส่งจริง 59 วัน ในช่วงสามเดือน พบว่า ได้ค่าขนส่งต่ำกว่าการวางแผนแบบเดิมในทุกเดือน โดยที่สัดส่วนน้ำหนักเป็นไปตามสัญญาจ้าง สามารถลดค่าขนส่งเฉลี่ยต่อเดือนได้ 190,148 บาท หรือ 3.49 เปอร์เซ็นต์การจัดกลุ่มคอยล์สำหรับรถแต่ละเที่ยวอย่างเหมาะสม และการเลือกผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย ตามวิธีการวิจัยนี้ ส่งผลให้สามารถลดน้ำหนักที่ถูกคิดค่าใช้จ่ายทั้งที่ไม่มีการขนส่งจริงเฉลี่ยต่อเดือนได้ 196.26 ตัน หรือ 37.07 เปอร์เซ็นต์และสามารถลดการเลือกใช้รถบรรทุกประเภทที่มีราคาค่าขนส่งต่อตันที่สูงกว่าแบบปกติได้งานวิจัยนี้มีการสร้างระบบสนับ สนุนการตัดสินใจด้วยชุดคำสั่ง VBA ในการจัดเตรียมข้อมูลและสร้างตารางการขนส่งรายวัน ซึ่งลดเวลาในการจัดตารางการขนส่งเหลือเพียง 30-40 นาทีต่อวัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7830
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น